เส้นเลือดขอด
ภาวะเส้นเลือดขอด คือ การขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดดำในชั้นตื้น เกิดจากลิ้นของหลอดเลือดดำที่ทำหน้าที่เปิดปิดไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ เกิดการทำงานได้ไม่ปกติ หรือไม่สามารถปิดได้สนิท โดยอาจจะเกิดจากความอ่อนแรงของผนังหลอดเลือดดำ หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ทำให้แรงดันในหลอดเลือดดำเพิ่มสูงขึ้น เกิดการไหลย้อนกลับของเลือด จนทำให้หลอดเลือดดำขยายตัวกว้างขึ้น ซึ่งพบมากบริเวณขาและต้นขา แม้ยืนอยู่นิ่ง ๆ ก็เกิดแรงดันในหลอดเลือดดำจำนวนมาก ทำให้เลือดคั่งไม่สามารถไหลอย่างที่ควรจะเป็น จนกลายเป็นเส้นเลือดขอด จากเป็นน้อย ๆ ตั้งแต่เห็นเพียงเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ คล้ายใยแมงมุม จนถึงสีเขียว สีม่วงคล้ำ หรือน้ำเงินโป่งพอง ปูดโปนขึ้นมาคดเคี้ยวเป็นรอยนูนคล้ายตัวหนอน จนกระทั่งเกิดการอักเสบเป็นแผลได้ บางคนอาจมีอาการปวดเมื่อยที่น่อง เป็นตะคริว รู้สึกหนักขา ชาบริเวณเท้าหรือฝ่าเท้า ขาบวม มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง โดยอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อห้อยขาลงต่ำหรือเมื่ออากาศร้อน
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอดมีตั้งแต่เห็นเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ (Spider Vein) ปวดขา เท้า และขาบวม เห็นหลอดเลือดโป่งพองมีลักษณะคดเคี้ยวคล้ายกับตัวหนอน สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น ผิวหนังแห้งแข็ง ไปจนถึงการอักเสบเป็นแผล
- อายุ
- น้ำหนักเกิน
- อาชีพ ที่ต้องยืนหรือนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ผู้หญิง มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ปริมาณของเลือดสูงขึ้น ทำให้เกิดการตึงของหลอดเลือด รวมถึงระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผนังกล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดอาจทำงานบกพร่อง
- อื่น ๆ เช่น หลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เคยมีลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
ส่วนใหญ่เส้นเลือดขอดมักไม่แสดงอาการให้เห็น ยกเว้นจากการสังเกตความผิดปกติ ได้แก่
- มองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา
- เส้นเลือดปรากฏสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา
- เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หนักขา
- บวม ร้อนขาส่วนล่าง
- ปวดเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
- เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
- ผิวหนังอักเสบหรือมีแผลพุพองบริเวณผิวหนังใกล้ข้อเท้า
- หลอดเลือดที่ขอดเกิดการอักเสบและอุดตัน
- หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเส้นเลือดขอดฉีกขาดจะเสียเลือดมาก
- หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดขอดที่อยู่ชิดผิวหนัง ทำให้มีแผลโดยตรงบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดออกเป็นจำนวนมากจากหลอดเลือดโดยตรง
การตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดขอดโดยทั่วไป ได้แก่
- ซักประวัติ
- ตรวจร่างกาย
- การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือด (Duplex Ultrasound) ซึ่งต้องทำเพื่อประเมินหาสาเหตุแอบแฝง มิฉะนั้นจะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษา
การรักษาและเทคโนโลยี
แชร์ :
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Sleeve Gastrectomy : Bangkok Hospital Pattaya [ SubThai ]
การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยวิธี Laparoscopic sleeve gastric bypass เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ช่วยจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก