การรักษาต่อมไทรอยด์ ด้วยวิธีการผ่าตัด
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อในร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยเผาผลาญสารอาหาร หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลต่อระบบต่าง ๆของร่างกาย ภาวะที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก
เมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน “มากเกินไป” จะนำไปสู่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่พบ ได้แก่ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ และกินจุขึ้นแต่น้ำหนักลด
การผ่าตัดมักจะทำในรายที่ให้ยาฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ (Thyroxine) แล้วไม่สามารถทำให้ก้อนเนื้อยุบลงได้, ก้อนไปกดเบียดทางเดินหายใจทำ ให้หายใจลำบาก หรือกดเบียดหลอดอาหาร หรือสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์ หรือเพื่อเหตุผลของความสวยงามที่บริเวณคอ
- ผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็มดูดขนาดเล็ก บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
- ผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็มดูดขนาดเล็ก บ่งชี้ถึงลักษณะของเซลล์ที่ผิดปกติ
- ผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็มดูดขนาดเล็ก บ่งชี้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง แต่ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ (2-4 เซนติเมตรขึ้นไป) หรือมีก้อนเนื้อจำนวนมาก หรือมีอาการกดทับอวัยวะบริเวณใกล้เคียง เช่น หลอดลมหรือหลอดอาหาร
- การผ่าตัดแบบเปิดแผลที่คอ :
ผ่าตัดแบบเปิดที่คอ ทำได้โดยการผ่าตัดที่บริเวณคอในแนวขวาง ซึ่งสามารถตัดไทรอยด์ออกได้หมด รวมถึงสามารถ เลาะต่อมน้ำเหลืองออกได้ด้วย ในบางกรณี อาจมีแผลเป็นตามขวางที่คอหลังการผ่าตัด
- การผ่าตัดแบบส่องกล้อง :
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านทางปากหรือทางรักแร้ โดยการผ่าตัดชนิดนี้จะใช้กล้องขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก :
เป็นเทคนิคการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กและแผลจะอยู่ด้านในริมฝีปากล่าง
- ไม่มีรอยแผลเป็นให้เห็นบริเวณคอ
- เลือดออกน้อย ลดภาวะแทรกซ้อน
- เจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยลง
- แผลหายไว ใช้เวลาพักฟื้นสั้น
ขนาดของก้อนเนื้อไม่ควรเกิน 3-6 เซนติเมตร
แชร์ :