โรคหลอดเลือดสมอง คือ สาเหตุการเสียชีวิตลำดับ 2 ของประเทศไทย 

กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 800,749 ราย และเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 5.58 โดยกลุ่มอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคสูงที่สุด

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) พบได้ประมาณ 80%

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดที่ก่อตัวในหลอดเลือดสมองขยายขนาดใหญ่ขึ้น

หรือลิ่มเลือดที่บริเวณอื่นไหลตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง

  • หลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

วิธีการรักษา

  1. ฉีดยาละลายลิ่มเลือด
  2. สวนลากลิ่มเลือด

2. หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20%

หลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภามะความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรือ ปริแตกได้ง่ายทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

วิธีการรักษา

  1. รักษาด้วยการผ่าตัด
  2. รักษาด้วยยา
  1. ความดันโลหิตสูง
  2. โรคหัวใจ
  3. สูบบุหรี่
  4. ดื่มแอลกอฮอล์
  5. โรคเบาหวาน
  6. ความเครียด
  7. ความอ้วน

Balance : เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้

Eyes : ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน

Face : ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ด้านใดด้านหนึ่ง

Arm : แขน ขา อ่อนแรง ข้างใดข้างหนึ่ง

Speech : พูดติดขัด พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก

Time : รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

หากมีอาการดังต่อไปนี้เฉียบพลัน อย่างน้อย 1 ข้อ ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โทร. 1719 หรือ 0 3825 9999

ผู้ป่วยที่เกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ที่มีอาการเข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ

แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

ภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงครึ่ง นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนมาถึงโรงพยาบาล

สามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยใช้สิทธิฉุกเฉินวิกฤติ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ทุกนาทีคือชีวิต รู้เร็ว รักษาได้ โทร. 1719 หรือ 0 3825 9999

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10