นอนไม่หลับ, กรน, ฝันร้าย, ละเมอ, คันหรือเจ็บตามแขนขาเวลานอน, ปัสสาวะบ่อยกลางคืน, ตื่นไม่สดชื่น หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า, เพลีย ง่วงกลางวัน, สมาธิและความจำลดลง, ปวดศีรษะเรื้อรัง, อ้วน, ความดันโลหิตสูง, สมรรถภาพทางเพศลดลง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หัวใจวาย, โรคหัวใจ

ถ้ามีอาการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป คุณควรได้รับการตรวจเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและโอกาสของการนอนหลับผิดปกติ

อาการดังกล่าวสามารถเป็นผลสืบเนื่องจาก การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ รบกวนต่อการทำงานของสมอง หัวใจ หลอดเลือด การหายใจ ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ การสืบพันธ์ ภูมิคุ้มกัน และการฟื้นฟูร่างกาย เป็นต้น

1.นอนไม่หลับ: แบ่งเป็นระยะที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานกว่า 3 สัปดาห์และ อาการนอนไม่หลับที่นานกว่า3 สัปดาห์ ซึ่งมักมีสาเหตุที่ต่างกันออกไปทั้งทางกายและทางอารมณ์จิตใจ

2.นอนหลับเยอะกว่าปกติ

2.1 นาร์โคเลปซี หรือ ภาวะลมหลับมีอาการร่วมที่สำคัญ 4 อาการได้แก่

  • ง่วงมากเกินปกติ
  • รู้สึกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ในขณะที่เริ่มรู้สึกตัวตื่น
  • รู้สึกหลอนช่วงเคลิ้มหลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันหากมีอารมณ์ขัน หัวเราะ หรือดีใจ โดยไม่หมดสติ

2.2 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ หรือ หายใจแผ่วลงขณะนอนหลับ เกิดซํ้าบ่อยๆ เนื่องจากทางเดินหายใจยุบตัวขณะหลับ

ผู้ป่วยอาจมีอาการและความผิดปกติอื่นร่วม ที่พบบ่อยได้แก่ กรนเสียงดังสะดุ้งตื่นกลางคืนหอบเหนื่อย กระสับกระส่าย ปากคอแห้งหลังตื่น เพลียกลางวัน ไม่มีสมาธิอารมณ์แปรปรวน เกิด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความจำเสื่อม ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลัน(SUDEP)ขณะหลับหากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบรุนแรง

2.3 การแสดงพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ เช่น ฝัน, ละเมอ กรีดร้อง ละเมอเดิน, หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงชกต่อยทุบตีแม้ขณะกำลังหลับ

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาคร จันทร์สกุล
-
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. บุญฤกษ์ แสงเพชรงาม
-
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา