ในชายวัยทองที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่สําคัญของระบบสืบพันธุ์ชายซึ่งมีรูปร่างคล้ายๆ กับลูก เกาลัด มีขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นและมี โอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น ตามลําดับ พบว่าชายในประเทศที่มีการบริโภคอาหารที่มี ไขมันสูง จะพบอุบัติการณ์เกิดขึ้นมาก เช่นในแถบประเทศตะวันตก ส่วนในประเทศ ไทยนั้นจะพบมากขึ้นในปัจจุบัน มะเร็งต่อมลูกหมากจะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ในระยะที่ 1 และ 2 นั้น มะเร็งจะยังอยู่ในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะที่ 3 มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ และเริ่มจะลุกลามออกนอก ต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลําบาก เบ่งปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้ ในระยะที่ 4 มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณต่อมน้ําเหลืองและ กระดูก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามกระดูกและข้อ น้ําหนักลด หรือเป็นมากๆ อาจจะทําให้เป็นอัมพาตจากการหักของกระดูกสันหลังได้

 โดยทั่วไปการรักษาโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือการค้นพบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะแรก เพื่อหวังผลในการรักษาให้หายขาด มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะว่าถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะหลังคือระยะ 3 และระยะ 4 นั้น อาจจะช้าเกินไปเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ การ รักษาในระยะ 3 และ 4 จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ ยาวนานที่สุด ดังนั้นสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การวินิจฉัย โรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะ ต้นๆ ในผู้ป่วยให้ได้โดยการตรวจเช็คต่อมลูกหมากจากแพทย์ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูก หมากในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะใดๆ วิธีการตรวจ วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีการตรวจด้วยกัน 2 แบบคือ

   1. การเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) ในปัจจุบันมีสารบ่งชี้ มะเร็งต่อมลูกหมากหลายตัว แต่ตัวที่ดีที่สุดคือ PSA (Prostate-specific antigen)สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จึง สามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด ถ้าระดับของ PSA ในเลือดสูงกว่าปกติก็จะมี โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ที่สําคัญคือชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูก หมากในระยะต้นๆ คือระยะ 1 หรือระยะ 2 ที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้นั้นจะแสดงผล PSA ที่ผิดปกติโดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการแสดงออกใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ารอให้มีอาการต่างๆ และค่อยมาพบแพทย์นั้น มะเร็งที่ค้นพบอาจจะลุกลามไปมากแล้ว ดังนั้นการเจาะ เลือดหาค่า PSA นี้จึงเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งสามารถเจาะได้ในโรงพยาบาลทั่วๆ ไป

   2. การตรวจทางทวารหนัก (Digital rectal examination) หรือเรียกย่อๆ ว่า DRE โดยแพทย์จะทําการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้การตรวจทางทวารหนัก เพื่อ ตรวจคลํารูปร่างและความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก ใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที หากเป็นมะเร็งมักคลําได้ก้อนแข็ง

   ถ้าการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือการตรวจทั้ง 2 อย่าง มีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ผู้ป่วยควรจะต้องได้รับการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เพื่อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยาว่าเป็น มะเร็งจริงหรือไม่

   ในปัจจุบันการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทําได้โดยง่าย โดยการใช้เครื่องมือ อัลตราชาวน์ของต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนัก แล้ว ตัดเนื้อไปตรวจด้วยเข็มที่มีขนาดเล็กการตัดเนื้อวิธีนี้ไม่จําเป็นต้องดมยาสลบแต่อย่างใด เมื่อทําเสร็จแล้วก็สามารถกลับบ้านได้

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)

คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”

Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)

Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. จิมมี่ คงเจริญ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. จิระพงศ์ สงวนเจริญพงศ์
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ชวน พฤกษวิวัฒน์
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์
-
นพ. นิธิ นาวานิมิตกุล
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. พรชัย ชยาบูรณ์ ปัญญาศุภคุณ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ยศศักดิ์ สกุลไชยกร
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. วงศ์ฐิติ ฐิติรุ่งเรือง
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. อนุเทพ บูรมิ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
พญ. ประพรพิม อุตมโชติ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา