โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มอาการชักอันเนื่องมาจาก การที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดทำงานมากเกินปกติไปจากเดิมชั่วขณะ จากไฟฟ้าของการชักเกิดขึ้นและกระจายออกไปในบริเวณส่วนต่างๆของสมอง อาการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นกับว่าเป็นส่วนใดของสมองที่ได้รับการกระตุ้นและอาการจะดำเนินอยู่ชั่วครู่

  1. ความผิดปกติทางด้านโครงสร้างสมอง สาเหตุจากรอยโรคในสมองได้แก่ แผลเป็นที่ฮิปโปแคมปัส (สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ), เนื้องอกสมอง, เส้นเลือดสมองผิดปกติ, หลังการได้รับบาดเจ็บทางสมอง, การขาดอ็อกซิเจนหลังคลอดจากการคลอดลำบาก
  2. พันธุกรรม ได้แก่ กลุ่มอาการที่เด่นชัดและเริ่มเกิดโรคลมชักตามอายุ, ความผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับผิวหนัง, เซลล์สมองพัฒนาผิดรูปบางชนิด
  3. สาเหตุจากโรคติดเชื้อ เช่น ไข้สมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, การติดเชื้อโปรโตซัวหรือพยาธิในสมอง
  4. สาเหตุจากภาวะเมตตาบอลิซึม เช่นภาวะความไม่สมดุลของสารน้ำ, เกลือแร่และน้ำตาล ได้แก่ภาวะระดับเกลือโซเดียมในเลือด และระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปเป็นต้น
  5. สาเหตุจากภูมิคุ้มกัน เป็นสาเหตุที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันของตนเองเช่นโรคไข้สมองอักเสบบางชนิด Rasmussen encephalitis, Limbic encephalitis และโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (SLE) เป็นต้น
  6. ยังไม่ทราบสาเหตุ (Unknown) ได้แก่ โรคลมชักที่ไม่พบรอยโรคในสมอง (Non-lesional epilepsy)
  1. Focal Onset (มีจุดกำเนิดคลื่นไฟฟฟ้าเฉพาะที่)
  2. Generalized Onset (มีจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้าทั่วสมอง)
  3. Unknown Onset (ไม่ทราบจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ)

Unclassified (ไม่สามารถระบุชนิดอาการชักได้)

  1. อาการชักเฉพาะที่ (ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว) โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่างๆ โดยที่ยังไม่รู้ตัว เช่น อาการชา หรือกระตุกของแขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หวาดกลัวความรู้สึกแปลกๆ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
  2. อาการชักแบบเหม่อลอย ผู้ป่วยมักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว ตามด้วยอาการเหม่อลอยผู้ป่วยมักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับไปมา อาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัว เคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้ว โดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้ อาการเหม่อลอย จะนานประมาณไม่กี่วินาที จนถึงหลายๆ นาทีหลังจากนั้นผู้ป่วยมักจะมีอาการสับสน ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการพูดไม่ได้หรือยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้อีกหลายนาทีกว่าจะตื่นเป็นปกติ
  3. อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Focal to bilateral tonic-clonic) เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติรบกวนเวลาการทำงานของสมองทั้งหมด จะเกิดอาการชักที่เรียกว่า “อาการชักทั่วทุกส่วน” หรือที่เรียบว่าลมบ้าหมู ชนิดที่พบบ่อยคือ อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกตัวทันที และล้มลงกล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัวตาจะเหลือกค้าง น้ำลายฟูมปาก อาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักนานประมาณ 2-3 นาที หลังชักมักจะเพลียและนอนหลับหลังจากหยุดชัก
  4. อาการชักแบบเหม่อนิ่ง (Absence) พบได้บ่อยในวัยเด็ก อาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมาก ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆ คล้ายเหม่อประมาณ 2-3 วินาที แล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา

โรคลมชักบางชนิดเช่นโรคลมชักเฉพาะที่ ที่ยังคุมอาการได้ไม่ดี และมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวบ่อยๆ เช่น มากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงที่จะชักต่อเนื่อง หรือชักจนเสียชีวิตได้

เราจะสามารถช่วยเหลืออะไรผู้ป่วยได้บ้าง ? และหากผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วเราควรทำอย่างไร ?

ต้องตั้งสติให้ดีตะโกนเรียกผู้อื่นให้ช่วยโทรแจ้งขอความช่วยเหลือแล้วรีบเข้าไปประคองตัวผู้ป่วยและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังได้แก่

  1. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทางด้านขวา
  2. ป้องกันผู้ป่วยจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  3. หากสวมแว่นตาหรือฟันปลอมควรถอดแว่นตาหรือฟันปลอมออก (ถ้าทำได้ง่าย)
  4. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกห่างจากบริเวณที่อาจเกิดอันตราย เช่น ท้องถนน เสาไฟฟ้า ที่สูง หรือบ่อน้ำ
  5. ห้ามผูกมัด หรือ กดตัวผู้ป่วย หรือทำวิธีใดๆ ให้ผู้ป่วยหยุดชัก (ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด)
  6. ไม่ควรทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพังขณะชักหรือหลังชักใหม่ๆ
  7. ไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทันทีหลังชักใหม่ๆ
  8. ดูแลอาการสับสนระหว่างชัก หรือหลังชักจนกว่าจะหายไปเอง
  9. ไม่ควรเร่งให้ผู้ป่วยยืนหรือเดินขณะพักฟื้น ถ้าผู้ป่วยหลับให้พักจนเพียงพอ (การรีบปลุกอาจทำให้ผู้ป่วย สับสนและอาละวาด หรืออาจเกิดการชักซ้ำได้)

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์