ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >   ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีปัจจัยที่ทำให้เกิดหลายประการ อาทิ กรรมพันธุ์ อายุ เพศ พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การขาดการออกกำลังกาย การบริโภค ฯลฯ

หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเป็นภัยเงียบที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดหัวใจตีบ จนนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งในภาวะฉุกเฉิน มาตรฐานการรักษาจำเป็นต้องเปิดหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตันด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด หรือในบางรายอาจจำเป็นตัองผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด

ดังนั้นมาตรฐานในการรักษาโรคหัวใจ แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเริ่มต้นใช้ยาในการรักษา หากการตอบสนองไม่ดีหลังจากการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยยังมีความทุกข์ทรมานจากโรคหัวใจ การรักษาในขั้นต่อมา อายุรแพทย์ไฟฟ้าหัวใจจะเป็นผู้พิจารณาทางเลือกในการใช้เครื่องกระตุ้นหรือเครื่องกระตุกหัวใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจแต่ละประเภท เพื่อผลการรักษาที่ดี

การเลือกใช้เครื่องกระตุ้น หรือกระตุกหัวใจไม่ใช่ทำเพียงเพื่อให้การรักษาครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปเท่านั้น แต่อายุรแพทย์ไฟฟ้าโรคหัวใจ ยังพิจารณาถึงความเหมาะสม หากในอนาคตผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาตัวด้วยโรคอื่น หรือ การรักษาด้วยเครื่องมือพิเศษอื่นๆ อีกด้วย

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาได้ให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมามีชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ มีจำนวนมากถึง 534 ราย และผู้ป่วยโรคหัวใจทุกท่านที่ได้รับการรักษากลับไปใช้ชีวิตที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัย และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ตามปกติ

pacemaker

นอกจากนี้ยังมีบริการติดตามผู้ป่วยหลังจากใส่เครื่องกระตุ้น หรือเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าการทำงานของเครื่องยังมีประสิทธิภาพ คลินิกดังกล่าวให้บริการดูแล และตรวจสอบเครื่องกระตุ้น หรือเครื่องกระตุกหัวใจให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยลูกค้าที่มาใช้บริการมีตั้งแต่ลูกของศูนย์หัวใจ ลูกค้าที่ได้รับการรักษาจาก รพ.อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แผลเล็ก

คนไข้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่ต้องมาพบกับภาวะลิ้นหัวใจรั่วฉับพลัน ทั้ง 2 ห้อง (ซ้ายและขวา) คนไข้ทุกข์ทรมานกับอาการจนไม่สามารถที่จะรอคิวห้องผ่าตัดของรพ.ที่ไปรักษาได้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมา

Testimonial : การจี้ไฟฟ้าหัวใจ..เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คนไข้ประสบกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาเป็นเวลาหลายปี และได้รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมาแล้วถึง 2 ครั้งที่รพ.อื่น แต่อาการก็กลับเป็นขึ้นมาอีก จนต้องมาจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งที่ 3

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กษิศักย์ เหลืองปฐมอร่าม
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
นพ. กิตติ ฏิระวณิชย์กุล
เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรศาสตร์
นพ. กิตติ นาคจันทึก
อายุรศาสตร์
นพ. จิรพันธ์ ชวาลตันพิพัทธ์
อายุรศาสตร์
นพ. ชยุต ทัตตากร
อายุรศาสตร์
นพ. ชาติทนง ยอดวุฒิ
อายุรศาสตร์
นพ. ณัฐฑ์ โรจนกิจ
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
นพ. ทินกฤต ศศิประภา
อายุรศาสตร์
นพ. ธนัตถ์ อัศวิษณุ
อายุรศาสตร์
นพ. ปริญญา ชมแสง
อายุรศาสตร์