หน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต หรือ NICU
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ
หน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา พร้อมด้วยทีมกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด มีความพร้อมสูงทั้งทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการการผ่าตัดในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติทางด้านศัลยกรรมโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางเด็ก
นอกจากนั้นยังมีกุมารแพทย์เฉพาะทางในสาขาอื่นที่พร้อมจะดูแลทารกที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลในระบบต่างๆด้วย เช่น กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหัวใจ (Pediatric Cardiologist) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคทางเดินอาหาร (Pediatric Gastroenterologist) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคทางระบบประสาท (Pediatric Neurologist) เป็นต้น
- ทารกแรกเกิดที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
- ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2,500 กรัม)
การตั้งครรภ์แฝดถือเป็นการตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง ทารกแฝดที่คลอดอาจมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะความเข้มข้นเลือดสูง(Polycytemia) ภาวะซีด(Anemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) และ ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์ในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องที่พร้อมทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดแผนการรักษา และประสานกับคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษามารดาและทารกให้ปลอดภัยที่สุด ดังนี้
- สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (maternal-fetal medicine specialist)
- กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (neonatologist) หมายถึง กุมารแพทย์ที่ดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
- ทีมพยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลที่ได้รับการฝึกเกี่ยวกับเรื่องการดูแลครรภ์ การคลอด และดูแลทารกหลังคลอดโดยตรง
- พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลระหว่างการผ่าตัดคลอด
- พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
- พยาบาลผู้ประสานงานมารดาและทารกปริกำเนิด
- พยาบาลผู้ประสานงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่