โรคหลอดเลือดสมอง คือ สาเหตุการเสียชีวิตลำดับ 2 ของประเทศไทย 

กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 800,749 ราย และเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 5.58 โดยกลุ่มอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคสูงที่สุด

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) พบได้ประมาณ 80%

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดที่ก่อตัวในหลอดเลือดสมองขยายขนาดใหญ่ขึ้น

หรือลิ่มเลือดที่บริเวณอื่นไหลตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง

  • หลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

วิธีการรักษา

  1. ฉีดยาละลายลิ่มเลือด
  2. สวนลากลิ่มเลือด

2. หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20%

หลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภามะความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรือ ปริแตกได้ง่ายทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

วิธีการรักษา

  1. รักษาด้วยการผ่าตัด
  2. รักษาด้วยยา
  1. ความดันโลหิตสูง
  2. โรคหัวใจ
  3. สูบบุหรี่
  4. ดื่มแอลกอฮอล์
  5. โรคเบาหวาน
  6. ความเครียด
  7. ความอ้วน

Balance : เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้

Eyes : ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน

Face : ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ด้านใดด้านหนึ่ง

Arm : แขน ขา อ่อนแรง ข้างใดข้างหนึ่ง

Speech : พูดติดขัด พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก

Time : รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

หากมีอาการดังต่อไปนี้เฉียบพลัน อย่างน้อย 1 ข้อ ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โทร. 1719 หรือ 0 3825 9999

ผู้ป่วยที่เกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ที่มีอาการเข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ

แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

ภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงครึ่ง นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนมาถึงโรงพยาบาล

สามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยใช้สิทธิฉุกเฉินวิกฤติ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ทุกนาทีคือชีวิต รู้เร็ว รักษาได้ โทร. 1719 หรือ 0 3825 9999

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์