Skip to content

มะเร็งเต้านม มะเร็งร้าย

มะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายแม้พบได้ไม่บ่อยแต่ก็สามารถพบมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเริ่มจากเซลส์เติบโตผิดปกติในท่อน้ำนม การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกของโรคจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
  • มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
  • การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
  • การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เช่น ใช้ยาคุมกำเนิดมากว่า 1 ปีขึ้นไป มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย ไม่เคยตั้งครรภ์และไม่เคยให้นมบุตรเป็นต้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่า
  • ปัจจัยอื่นๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นต้น

อาการ/สัญญาณเตือน

ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมเริ่มแรกอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่มาตรวจพบจากการตรวจเต้านมประจำปีโดยแพทย์หรือการทำแมมโมแกรมอัลตร้าซาวด์ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • คลำได้ก้อน ในเต้านมหรือใต้แขนตรงรักแร้
  • บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหล หรือมีแผลเรื้อรัง
  • เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
  • เต้านมผิดรูป ผิดขนาดไปจากเดิม
  • มีอาการปวดบริเวณเต้านมมากกว่าปกติ

การตรวจ/วินิจฉัย

การตรวจประเมินเบื้องต้นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะต้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง โดยการตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

  • การคลำเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (mammogram) และอัลตร้าซาวด์เต้านม (ultrasound breast) แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35-40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจทุก 1 ปี
  • ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะทำการวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยการเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดต่อไป

การรักษา

  • การผ่าตัด
  • รังสีรักษา
  • เคมีบำบัด
  • การรักษาโดยใช้ยาต้านฮอร์โมน
  • การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)
New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง