การใช้อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสโทรศัพท์ เช่น การใช้บลูทูธเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์กับเครื่องเสียงในรถ หรือการใช้เสียงสั่งการเพื่อรับสายหรือโทรออก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยด้านกายภาพและปัจจัยด้าน การมองเห็นลงได้ แต่อย่างไรก็ดี การคุยในขณะขับรถ ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถคันเดียวกันหรือคุยโทรศัพท์โดยจะใช้ อุปกรณ์เสริมหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิและทำให้ตอบสนองต่อสัญญาณจราจรและเหตุฉุกเฉิน ต่างๆ ได้ช้าลงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นกว่าผู้ที่มีสมาธิจดจ่อ อยู่กับการขับขี่ จากการวิจัยพบว่า การสูญเสียสมาธิขณะขับขี่เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ โดยการโทรศัพท์ขณะขับรถไม่ว่าจะใช้มือถือโทรศัพท์หรือใช้อุปกรณ์เสริม ก็มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงพอๆ กันคือ ผู้ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติสี่เท่า และผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติห้าเท่า จะเห็นว่าการใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้มือถือโทรศัพท์ในขณะขับรถ แม้จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยทางกายภาพได้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเสียสมาธินั้นยังสูงอยู่มาก
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือ หาก ขับรถในระยะทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรออกจนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้น ที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี
เอกสารอ้างอิง
- กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และคณะ การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2552 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2552
- Centers for Disease Control and Prevention. Mobile device use while driving – United States and seven European countries, 2011. MMWR 2013; 62(10): 177-182 http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm6210a1.html
- Centre for accident research & road safety – Queensland. Mobile phone use & distraction while driving. http://www.police.qld.gov.au/Resources/Internet/news%20and%20alerts/campaigns
/fatalfive/documents/mobile_phones_and_distraction_fs.pdf> - Schroeder, P., Meyers, M., & Kostyniuk, L. (2013, April). National survey on distracted driving attitudes and behaviors – 2012. (Report No. DOT HS 811 729). Washington, DC: National Highway Traffic Safety Administration.
- McEvoy SP, Stevenson MR, McCartt AT, Woodward M, Haworth C, Palamara P, Cercarelli R. Role of mobile phones in motor vehicle crashes resulting in hospital attendance: a case-crossover study. BMJ. 2005;331:428.
ที่มา: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
- See more at: http://www.bangkokhealth.com/bhr/th/content_detail.php?id=1267&types=#sthash.lUEC0SwU.dpuf