จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 ถึง 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่าจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ทุกปี จาก 21 ล้านคนในปี 2548 เป็น 46 ล้านคนในปี 2558 จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศสูงขึ้น
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558 พบว่าจังหวัดที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถจำนวนมาก จะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง โดย ทั่วประเทศมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถประมาณ 11,542,723 คน มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจำนวน 729,997 คน และเกือบจะเกิดอุบัติเหตุจำนวน 1,152,999 คน จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถมากที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 98.7 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถน้อยที่สุดคือจังหวัดพิษณุโลก (ร้อยละ 43.2 ของจำนวนผู้ขับรถ) จังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถมาก ที่สุดคือจังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 20.9 ของจำนวนอุบัติเหตุ) และจังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดคือจังหวัดกำแพงเพชร (ร้อยละ 1.0 ของจำนวนอุบัติเหตุ)
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือ หาก ขับรถในระยะทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรออกจนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้น ที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี
เอกสารอ้างอิง
- กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และคณะ การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2552 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2552
- Centers for Disease Control and Prevention. Mobile device use while driving – United States and seven European countries, 2011. MMWR 2013; 62(10): 177-182 http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm6210a1.html
- Centre for accident research & road safety – Queensland. Mobile phone use & distraction while driving. http://www.police.qld.gov.au/Resources/Internet/news%20and%20alerts/campaigns
- Schroeder, P., Meyers, M., & Kostyniuk, L. (2013, April). National survey on distracted driving attitudes and behaviors – 2012. (Report No. DOT HS 811 729). Washington, DC: National Highway Traffic Safety Administration.
- McEvoy SP, Stevenson MR, McCartt AT, Woodward M, Haworth C, Palamara P, Cercarelli R. Role of mobile phones in motor vehicle crashes resulting in hospital attendance: a case-crossover study. BMJ. 2005;331:428.
ที่มา: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
– See more at: http://www.bangkokhealth.com/bhr/th/content_detail.php?id=1267&types=#sthash.lUEC0SwU.dpuf