Skip to content

การป้องกัน “โรคไข้หวัดนก”

การติดเชื้อ

  • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Infuenza A) ที่พบในนกและสัตว์ปีก
  • เชื้อมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์สามารถติดต่อสู่คนและพบอาการรุนแรงได้ เช่น H5 และ H7
  • พบเชื้อในสิ่งคัดหลั่งจากจมูก ปาก ตา และมูลของสัตว์ปีก
  • ระยะฟักเชื้อ เฉลี่ย 2-5 วัน แต่อาจยาวนานได้ถึง 17 วันหลังได้รับเชื้อ
  • ติดต่อจากการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีเชื้อ และการสัมผัสสิ่งของ/สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • ประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยันสายพันธุ์ H5N1 ปี พ.ศ. 2547-2549 หลังจากปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบรายงานในระบบเฝ้าระวังฯ
  • การติดต่อจากคนสู่คน สามารถเกิดขึ้นได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก และต้องสัมผัสใกล้ชิดมาก ๆ

อาการ

  • ไข้สูง ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก และอาจพบอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง หรือซักเกร็ง
  • อาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เยื่อบุตาขาวอักเสบอย่างอ่อน อาการทางเดินหายใจส่วนต้นคล้ายไข้หวัดใหญ่ จนถึงปอดอักเสบเสียชีวิต

การป้องกัน

  • หากมี ไข้ ไอ ปวดเมื่อยร่างกาย และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก/ผู้ป่วยปวดบวม รีบพบแพทย์ และแจ้งประวัติสัมผัสโรค/ประวัติการเดินทาง
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ เลี่ยงการสัมผัสใบหน้า จมูก ตา และปาก
  • รับประทานเนื้อไก่ เนื้อเป็ด ไข่ และอาหารปรุงสุก ความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศา
  • เลือกซื้อเนื้อไก่/เนื้อเป็ดสด ชิ้นที่ไม่มีสีคล้ำ และจุดเลือดออก เลือกซื้อไข่ฟองที่ใหม่ ไม่มีมูลไก่/เป็ดติดเปลือกไข่ และทำความสะอาดก่อนนำมาปรุง
  • หากไปตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต ควรเลี่ยงการสัมผัสสัตว์และพื้นผิวที่สัตว์อยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และสวมถุงมือ
  • สวมหน้ากากอนามัย หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีการระบาด เลี่ยงการดูดเสมหะสัตว์ปีก เช่น ไก่ชน หากพบสัตว์ปีกอาการผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์

ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2566: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อายุรกรรม

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง