การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)
การรักษา
คือ การผ่าตัดผ่านกล้องที่มีขนาดเล็กมากสอดเข้าไปในข้อกระดูก วิธีนี้ส่งผลให้ไม่ต้องตัดส่วนสำคัญรอบ ๆ ข้อออก แผลผ่าตัดจึงมีขนาดที่เล็กมาก
ผ่าตัดส่องกล้องที่อวัยวะไหนบ้าง
- ข้อเข่า
- ข้อหัวไหล่
- ข้อมือ
- ข้อเท้า
- ข้อสะโพก
- ข้อศอก
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องผ่าตัดส่องกล้องทางกระดูกและข้อ
• แจ้งให้แพทย์ทราบ
- โรคประจำตัว
- ประวัติการแพ้ยา
- ยา/อาหารเสริมที่ใช้ประจำ
- ประวัติประจำเดือน (สุภาพสตรี)
• ดูแลตัวเอง
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับให้เพียงพอ
- บริหารร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ
- งดยาละลายลิ่มเลือดตามที่แพทย์สั่ง
- พยายามลด/งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดูแลบริเวณผ่าตัดให้สะอาด ระวังอย่าให้มีแผล
** วิสัญญีแพทย์จะให้คำปรึกษาเรื่องทางเลือก/วิธีดมยาสลบ
เทคโนโลยี
เป็นการผ่าตัดด้วยกล้อง Microscope ทำให้แผลมีขนาดเล็กประมาณ 3-5 เซนติเมตร โดยกล้อง Microscope จะอยู่ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย แล้วใส่อุปกรณ์เพื่อเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นแนวยาว และทำการตัดกระดูกบางส่วนออกเพื่อให้สามารถผ่าตัดตำแหน่งที่มีการกดทับของเส้นประสาทได้ กำลังขยายจากกล้องรวมกับแสงจากกล้อง ช่วยให้การผ่าตัดทำได้ง่ายและมีความปลอดภัยมากขึ้น
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก Minimally Invasive Surgery (MIS) ขนาดแผลไม่เกิน 1 เซนติเมตร ด้วยการสอดกล้องเอ็นโดสโคปขนาดเล็กผ่านเข้าไปทำการผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ สามารถเลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะเนื้อเยื่อส่วนที่ดีออก ส่งผลให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย มีอัตราการติดเชื้อ
ต่ำ ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Testimonial : Rotator cuff injury repair
Arthroscopic Rotator Cuff Repair" Thai surgeon uses arthroscope instead of radical surgery. A patient describes his experiences and outcome.
Testimonial : การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยการส่องกล้อง แผลเล็ก
คุณสุภาพ มาทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยการส่องกล้องแผลเล็ก กับ นพ.วิทย์ โคธีรานุรักษ์