การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์รังสีวินิจฉัย)
การรักษา
ปัจจุบันรังสีแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ มากขึ้น เรียกว่า รังสีแพทย์ร่วมรักษา เพื่อช่วยในการวินิจฉัยที่แน่นอนทางด้าน Histology, Biochemistry และ Bacteriology หรือวิธีการรักษาที่ทำโดยการสอดใส่เครื่องมือหรือแทงเข็มผ่านผิวหนังเข้าสู่ตำแหน่งเป้าหมาย สามารถใช้ร่วมรักษากับโรคของอวัยวะเกือบทุกระบบ รังสีแพทย์ร่วมรักษายังสามารถนำชิ้นเนื้อที่ออกมาตรวจ หรือทำการรักษาโรคนั้นๆ โดยใช้วิธีแทงเข็มหรือใส่เครื่องมือผ่านทางผิวหนังลงไปที่ตำแหน่งของโรคโดยตรง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ เป็นการช่วยลดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาในการพักฟื้น ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษา
เทคโนโลยี
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงประเภท Multi-Detector CT [MDCT] สามารถสร้างภาพได้ครั้งเดียว 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ 360 องศา โดยใช้เวลาเพียง 0.35 วินาที ทำให้สามารถจับภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยระบบหลอดเลือด และระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติเบื้องต้นของระบบหลอดเลือดและระบบหลอดเลือดหัวใจภายในเวลาเพียง 10 น
เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging [MRI] ระดับความเข้มของสนามแม่เหล็กสูง 3 เทสลา [3.0 Tesla Unit] สำหรับการวินิจฉัยอาการความผิดปกติทางสมอง ไขสันหลัง ระบบกระดูกและข้อ รวมถึงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถแสดงผลตรวจได้อย่างมีคุณภาพและมีความละเอียดสูง โดยเฉพาะการตรวจเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆที่ซับซ้อน หรือมีขนาดเล็ก รวมถึงเนื้องอกและมะเร็งต่างๆ
ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการตรวจแบบใช้รังสีเอกซเรย์และใช้สารทึบแสงได้ เช่น ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสี หรือผู้ป่วยในภาวะไตวาย รวมถึงผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถกลั้นหายใจนานๆ ได้ นอกจากนี้ ตัวเครื่องยังมีลักษณะเป็นอุโมงค์สั้นทรงกระบอกในแนวนอนขนาดกระทัดรัดที่สุด ในโลก ซึ่งสามารถช่วยลดอาการกลัวการเข้าไปอยู่ในบริเวณแคบและปิดทึบของผู้ป่วยได้ MRI จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และนำไปสู่การรักษาโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น
Better Image Quality, High Resolution
Better Positioning, More Comfort, 70 cm bore
Better Technology, Digital Broadband MR
การตรวจอัลตราซาวนด์ คือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไปจากหัวตรวจ คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาในระดับต่างๆ และนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผล เพื่อสร้างภาพขึ้นมา มีความปลอดภัยสูง สามารถตรวจได้ตลอดการตั้งครรภ์ี
ข้อดีของอัลตราซาวนด์ 4 มิตินั้น สามารถช่วยให้เห็นการเคลื่อนไหวของทารกที่เสมือนทารกจริงๆ ตลอดเวลาโดยอัลตราซาวนด์ 4 มิติ จะชัดเจนกว่าการอัลตราซาวนด์ 2 มิติ สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของทารก เช่น การหาว การลืมตา การกลืน การขยับนิ้วมือ รวมถึงอิริยาบทต่างๆ ของทารกได้เสมือนจริงยิ่งกว่า โดยใช้เวลาในการทำอัลตราซาวนด์
เครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมที่ออกแบบพิเศษ สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมได้ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ พร้อมกันได้ในครั้งเดียว โดยใช้เวลาต่อการถ่าย 1 ภาพ ประมาณ 10 วินาที ตรวจรายละเอียดภายในเนื้อเต้านมได้ทั้งหมด ให้ผลการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียด ทำให้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถแยกชนิดของก้อนเนื้อระหว่าง ก้อนเนื้องอกธรรมดาและก้อนเนื้อที่เป็นมะเร้งเต้านมได้อย่างชัดเจน รังสีแพทย์สามารถดูภาพในแต่ละมิติหรือแต่ละ slide จากภาพ Reconstruction เพื่อดูขอบเขตและรูปร่างของก้อนเนื้อที่สงสัย สามารถแยกแยะความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่ออื่นๆ รวมทั้งท่อและต่อมต่างๆ ในเต้านม เพื่อค้นหาการจับตัวของแคลเซียมที่มีขนาดเล็กมากๆ ที่คาดว่าจะผิดปกติอาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคต ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงมาก
เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ ไม่ต้องกดคนเต้านมคนไข้มากเหมือนการถ่ายเอกซเรย์เต้านมแบบเดิมเนื่องจากเป็นการถ่ายภาพในมุม +/- 15 องศา แล้วนำภาพมาประมวลผลเป็น 3 มิติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงในการกดเต้านมคนไข้มาก ลดความเจ็บปวดให้คนไข้ อีกทั้งรังสีแพทย์ยังสามารถอ่านผลได้สะดวก ชัดเจนและแม่นยำขึ้น ลดอัตราการเรียกคนไข้กลับมาตรวจซ้ำ (Reduce Recall Rate) และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองคนไข้ในการเจาะตัดชิ้นเนื้อเต้านม (Breast Biopsy) อีกด้วย
สำหรับสุภาพสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปีหรือตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Osteoporosis โรคกระดูกพรุนป้องกันและรักษาได้
เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทำให้กระดูกนั้นเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติจากการศึกษาพบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระดูกหักบริเวณกระดูกหลังแขนและสะโพกความหนาแน่นกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) จะเป็นตัวสำคัญในการบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูกและความเสี่ยงต่อการหักที่กระดูกนั้นความหนาแน่นกระดูกนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนแล้วยังช่วยในการตัดสินด้านการประเมินผลการรักษาและติดตามผลการรักษาได้อีกด้วย
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
เมื่ออายุสูงขึ้นเกินกว่า35ปีวัยและปัจจัยอื่นๆจะมีผลให้การสร้างกระดูกไม่สามารถไล่ทันกระบวนการเสื่อมของกระดูกได้จึงมีการสูญเสียเนื้อกระดุกไปเรื่อยๆสิ่งที่น่ากลัวคือมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆโดยไม่มีอาการใดๆจนเกิดกระดุกหักทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคนี้การป้องกันโดยการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพกระดุกและทำการรักษาเมื่อพบว่าเป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดุกพรุนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พ้นจากอันตรายของโรคนี้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
- ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง
- หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือหญิงที่ตัดรังไข่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทันทีทำให้เซลล์สลายกระดูกทำงานในอัตราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
- คนเอเชียและคนผิวขาวจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าคนผิวดำ
- ประวัติครอบครัวมีผู้เป็นโรคกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง
- ขาดการออกกำลังกายมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
- สูบบุหรี่ดื่มสุราชากาแฟ
- ใช้ยาบางชนิดเช่นเสียรอยด์,ฮอร์โมนบางชนิด
- รับประทานอารที่มีแคลเซี่ยมน้อย,เบื่ออาหาร
- เป็นโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานตับไตไขข้ออักเสบ
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกการX-Ray ด้วยเครื่องX-ray ธรรมดา
การX-Ray กระดูกธรรมดาสามารถบอกความหนาแน่นกระดูกได้ในระดับหนึ่งโดยแพทย์จะพิจารณาดูจากความเข้มของภาพx-ray กระดูกนั้นๆการX-Ray ด้วยเครื่อง
Dual Energy X-ray Absorption (DEXA)
การX-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสีX-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณความหนาแน่นของกระดูก
- เป็นวิธีมาตรฐาน
- รวดเร็วได้ผลที่ถูกต้องปริมาณรังสี
น้อยมากประมาณ1/30เท่าของการเอ็กซเรย์ปอด
ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
เนื่องจากโรคกระดุกพรุนในระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฏอาการผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าปริมาณเนื่อกระดุกจะลดลงถึงระดับที่กระดูกเปราะและหักด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันแทพย์สามารถวินิจฉัยภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรกได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดุกด้วยเครื่องDEXA Scan[ Dual Energy X-Ray Absorption ]ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถ
ตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและสามารถใช้ติดตามผลการรักษามีกระบวนการตรวจที่สะดวกสะบายรวดเร็วมีวิธีการประเมินค่าที่ตรวจได้โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตราฐานขององค์การอนามัยโลก
เครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตำแหน่งแต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ำหนักของร่างกายคือกระดูกสันหลังกระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือและผู้ที่สมควรได้รับการตรวจเป็นอย่างยิ่งคือผู้สูงอายุหญิงวัยหมดประจำเดือนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรวมไปถึงผู้ที่มีอายุมากขึ้นและไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน
PACs คือ ระบบที่ใช้เชื่อมต่อ จัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ แบบดิจิตอลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ตามมาตรฐาน DICOM สามารถส่งต่อข้อมูลการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของระบบ PACs
- ความรวดเร็วโดยสามารถส่งภาพเอกซเรย์ให้รังสีแพทย์ได้ทันที
- คุณภาพของภาพดีกว่าภาพเอกซเรย์แบบเดิม ให้ความคมชัดมาก สามารถขยายภาพหรือวัดค่าต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด
- สามารถส่งภาพทางรังสีวิทยาได้ทุกประเภท
- รักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยสูง