Skip to content

กินดี ความดันลด

จะทำอย่างไร ? เมื่อรู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เริ่มเป็น หรือระดับความดันโลหิตยังสูงไม่มาก จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ความดันโลหิตกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ (ความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท) โดยไม่ต้องอาศัยการรับประทานยา

หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความดันโลหิตสูง

  1. ลดน้ำหนัก ลดดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)
  2. ปรับอาหาร ลดเค็ม
  3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. งดบุหรี่
  5. ลดแอลกอฮอล์

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่หากหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงอาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรก คือ เกิดจากโรคของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคของต่อมฮอร์โมน โรคหลอดเลือด ฯลฯ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่สองนั้นเป็นกลุ่มที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ ดังนั้นการรู้เรื่องของอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยงจึงจำเป็นอย่างยิ่งทีเดียว ซึ่งผลของการรับประทานอาหารจะมีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงว่าการดูแลตนเองของผู้ป่วยไม่ดี ซึ่งหากปล่อยให้มีภาวะความดันโลหิตสูงนาน ๆ จะมีผลทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย และไตวาย จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด

  • อาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็มจัด อาทิ กะปิ น้ำปลา ซอส ไข่เค็ม ปลาเค็ม หรือผักกาดดองต่างๆ ก็ตาม นอกจากนี้ควรงดอาหารที่เติมซอสหรือน้ำปลาในอาหารที่รับประทานด้วย ควรฝึกตนเองให้เป็นสุขนิสัยโดยค่อยๆ ลดปริมาณเกลือลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกอยากอาหารเค็มมากเท่ากับเมื่อก่อน
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงนอกจากอาหารเค็มที่เห็นชัดแล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงด้วย อาทิ น้ำอัดลม ขนมปังกรอบ ขนมปัง ขนมอบที่ต้องใช้ผงฟู เนยที่มีรสเค็ม น้ำสลัดและมายองเนสสำเร็จรูป อาหารที่ใส่น้ำตาลเทียม อาหารที่ใส่ผงชูรส รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลร้ายโดยตรงทั้งหัวใจและหลอดเลือด
  • อาหารควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ อาทิ นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล พืชผักผลไม้ต่างๆ และควรบริโภคให้หลากหลาย ไม่ควรกินอาหารบางชนิดทุกวัน อาจทำให้ได้รับสารอาหารบางประเภทไม่เพียงพอหรือมากเกินไป จนเกิดโทษแก่ร่างกายและมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ

ตรวจสุขภาพหัวใจ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง