นิ่วในไต เกิดจากการตกตะกอนของสารต่าง ๆ ในปัสสาวะจนการเป็นผลึกและสะสมนานพอจนกลายเป็นก้อนนิ่วในที่สุด โดยอาศัยปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง เช่น การตีบแคบของทางเดินปัสสาวะ หรือ การที่มีสารนั้นๆ กรองมาในปัสสาวะมากเกินไป เช่น อ็อกซาเลต (oxalate) ซึ่งเป็นสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว โดยนิ่วสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยเสี่ยง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการรับประอาหารของแต่ละคน
เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดนิ่วในไต ด้วยการหยุดพฤติกรรมเหล่านี้
- ดื่มน้ำน้อย หรือไม่ดื่มน้ำชดเชยเหงื่อที่สูญเสียไป หากเราต้องทำงานในที่กลางแจ้ง จะมีการเสียเหงื่อปริมาณมาก ยิ่งในหน้าร้อนแล้ว เหงื่อที่ออกเพิ่มขึ้น ทำให้ปัสสาวะลดลง ส่งผลให้สารตั้งต้นในการเกิดนิ่วสะสมในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
**ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป - ดื่มน้ำชามากกว่าน้ำเปล่า การดื่มชาทุกวันในปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นชาดำเย็น ชามะนาว หรือ ชาร้อน โดยเฉพาะ ชาดำ (Black Tea) เนื่องจากชาดำมีสาร ออกซาเลต (oxalate) ในปริมาณสูง เมื่อรวมตัวกับแคลเซี่ยมจะกลายเป็นผลึกนิ่วได้
**ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด
- ชอบอาหารรสจัด เนื่องจากการรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะ “เค็มจัด” เช่น หน่อไม้ดอง ปลาร้า ปลาเค็ม จะส่งผลให้ไตทำงานหนัก และกระตุ้นให้เกิดนิ่วตามมา
**ปรุงรสอาหารแต่พอดี - รับประทานแคลเซี่ยมไม่เพียงพอ เมื่อองค์ประกอบส่วนใหญ่ของนิ่วเป็น แคลเซี่ยม แต่การทานแคลเซี่ยมไม่ได้กระตุ้นให้เกิดนิ่วไต ตรงกันข้ามการที่ร่างกายขาดแคลเซี่ยมต่างหาก ที่จะเร่งให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซี่ยมกลับเข้ามา และทำให้เกิดนิ่วไต
**รับประทานแคลเซี่ยมเสริม ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- 5.ชอบรับประทานเนื้อแดง มีนิ่วอีกชนิดหนึ่งที่เจอได้บ่อยไม่แพ้กัน คือ “นิ่วยูริก” โดยในอาหารที่มีพิวรีนสูง จะทำให้เกิดการสะสมกรดยูริกในร่างกาย นอกจากจะทำให้เป็น “เก๊าต์” แล้ว กรดยูริก ยังสะสมในไตจนเกิดนิ่วได้ ควรเลี่ยงเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ และเบียร์ เป็นต้น
**รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่
Post Views: 3,606