Skip to content

Pinktober กำลังใจเพื่อผู้ป่วย “มะเร็งเต้านม”

การรณรงค์ "มะเร็งเต้านม" เกิดขึ้นได้อย่างไร

เดือนตุลาคมของทุกปีเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีการรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงภัยร้ายจาก “มะเร็งเต้านม” ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับหนึ่งในสตรีและเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก

องค์กรการกุศลด้านมะเร็งเต้านมมีการจัดตั้งแคมเปญที่ชื่อว่า “Breast Cancer Awareness Month” โดยตลอดเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งเต้านม และมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระดมทุนหารายได้ในการศึกษาทำการวิจัยและหาวิธีการรักษาใหม่ ๆ โดยมีหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน บริษัทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะออกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ริบบิ้นสีชมพูบนสินค้าเพื่อจำหน่ายแล้วนำรายได้จากการขายไปบริจาคให้สถาบันมะเร็ง เพื่อร่วมกันสนับสนุนการวิจัยด้านการป้องกัน การรักษาและร่วมรณรงค์เรื่องการตื่นตระหนกเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม

ซึ่งโครงการนี้ได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) โดยความร่วมมือระหว่าง American Cancer Society และแผนกเภสัชกรรมของ lmperial Chemical lndustries (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท AstraZeneca ผู้ผลิตยาต้านมะเร็งเต้านมหลายชนิดรวมถึงวัคซีนโควิด19) ด้วยจุดมุ่งหมายส่งเสริมการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ทั้งหญิงและชาย ที่แม้จะมีโอกาสน้อยกว่าเป็นร้อยเท่าแต่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ดังนั้นมะเร็งเต้านมจึงไม่ใช่เรื่องของผู้หญิงเท่านั้น

Tie a Pink Ribbon "ทำไมต้องเป็นริบบิ้นสีชมพู"

ริบบิ้นถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างความตื่นรู้ การตระหนักและการสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่งในกองทัพสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1900 ดังที่ปรากฎในเพลงเดินทัพที่ชื่อว่า “Tie a Yellow Ribbon” เพื่อให้กำลังใจภรรยาของตัวประกันที่ถูกจับในประเทศอิหร่านช่วงปี ค.ศ.1979-1981 (พ.ศ.2522-2524) โดยใช้ริบบิ้นสีเหลืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงการสนับสนุนตัวประกันและต่อมาสัญลักษณ์นี้ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางขึ้นเพื่อเตือนใจชายและหญิงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในต่างแดน

ในเวลาต่อมานักเคลื่อนไหวด้านโรคเอดส์ได้นำสัญลักษณ์ริบบิ้นนี้ไปใช้โดยได้เปลี่ยนสีริบบิ้นจากสีเหลืองเป็นสีแดงจากนั้นสารพัดแคมเปญเพื่อสุขภาพที่เป็นกิจกรรมเพื่อการกุศลก็ใช้สัญลักษณ์นี้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ แถมได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกาจนนิตยสาร New York Times เรียกปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) ว่า “ปีแห่งริบบิ้น” (The Year of the Ribbon) ซึ่งริบบิ้นแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกันไป

และเริ่มแรกริบบิ้นที่แสดงถึงการรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านมเป็นสีพีช ไม่ใช่สีชมพู! แล้วที่มาที่ไปว่าเปลี่ยนมาเป็นสีชมพูได้อย่างไร เริ่มจากผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ชื่อ ชาร์ล็อต ฮาลีย์ ในฐานะที่เธอเป็นหลาน น้องสาวหรือพี่สาว และแม่ของผู้หญิงที่ต่อสู้กับมะเร็งเต้านม ในตอนแรกเธอออกแบบริบบิ้นมะเร็งเต้านมเป็นสีพีช แทนที่จะเป็นสีชมพู โดยริบบิ้นทุกเส้นแจกพร้อมกับการ์ดที่เขียนว่า “สถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ ต้องใช้งบประมาณปีละ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งใช้เพียง 5 % เพื่อการป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยพวกเรากระตุ้นผู้บัญญัติกฎหมายและอเมริกาโดยการติดริบบิ้นนี้” เธอสามารถแจกริบบิ้นไปหลายพันชิ้นถือว่าประสบความสำเร็จ ทำให้หลายหน่วยงานและสำนักข่าวติดต่อไปที่เธอเพื่อแสดงริบบิ้นรวมถึงข้อความของเธอ แต่เธอปฏิเสธทุกข้อเสนอ เพราะเชื่อว่าพวกเขาทำในลักษณะเป็นองค์กรมากไป 

แต่ นิตยสาร ‘Self’ ก็สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ได้ โดยนักกฎหมายของนิตยสารขอให้เปลี่ยนสีของริบบิ้น และในที่สุดก็กลายเป็นริบบิ้นสีชมพู ในเดือนตุลาคม ปี 1992 ริบบิ้นสีชมพูได้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกทั่วประเทศสหรัฐฯ เมื่อแบรนด์ Estée Lauder จัดแสดงสัญลักษณ์นี้ที่เคาน์เตอร์เครื่องสำอางค์ นอกจากสีชมพูหลักที่ปกติใช้สื่อถึงเดือนแห่งการรณรงค์ตระหนักรู้ในภัยของมะเร็งเต้านมแล้ว ยังมีสีชมพูเฉดอื่นเพิ่มขึ้นมาด้วย อย่างสีชมพูบานเย็น (Hot Pink) สื่อถึงมะเร็งเต้านมอักเสบ สีเขียวหัวเป็ดกับสีชมพู สื่อถึงมะเร็งที่เกิดจากกรรมพันธุ์และเกี่ยวกับยีน สีชมพูกับฟ้า สื่อถึงมะเร็งเต้านมในผู้ชาย และสีเขียวหัวเป็ด ชมพู และเขียว สื่อถึงมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย

New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง