Skip to content

รับประทานยานอนหลับ ช่วยได้จริงหรือ?

ท่านรับประทานยานอนหลับอยู่หรือไม่ ? มีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อยมากแค่ไหน ? เพิ่งเป็น หรือ เป็นเรื้อรัง

เหตุปัจจัยที่แตกต่าง จะมีผลต่อความสามารถในการหลับที่ต่างกัน

การนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุทางกาย พฤติกรรม และสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคล
สิ่งที่จำเป็นต้องแยก คือ เริ่มไม่หลับในช่วงใดของการนอน ได้แก่

  1. เริ่มต้นล้มตัวลงนอนก็หลับยากแล้ว
  2. เริ่มหลับได้ไม่ยาก แต่ตื่นกลางดึก หรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
  3. เริ่มหลับได้ หลับได้ต่อเนื่อง แต่หลับได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้

หลายคนมีปัญหาการหลับในหลาย ๆ แบบดังกล่าวร่วมกัน และหาทางออกด้วยวิธีรับประทานยานอนหลับ
แต่รู้หรือไม่ว่า ยานอนหลับหลายอย่าง มีผลกดการทางานของสมอง ให้ช้าลง และเริ่มต้นเข้าสู่ระยะการหลับ แต่หากบุคคลนั้น มีประวัติสงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่นประวัติกรน หลับแล้วไอหรือสาลักอากาศ ยานอนหลับ จะยิ่งมีผลกดการทางานของสมอง แล้วทาให้มีโอกาสขาดอากาศมากขึ้น ทาให้ระยะการหลับลึกลดลง สภาพร่างกายเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อสมอง หัวใจ และหลายๆระบบ นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังต้องการยาไปตลอดและมีโอกาสดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ
ยานอนหลับบางอย่าง ยังทาให้ท่านมีพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับที่ควบคุมไม่ได้
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ เพื่อซักประวัติ ตรวจหาสาเหตุและวางแผนการตรวจรักษา

ไม่ต้องใช้ยานอนหลับก็แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ หากทำความเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะรักษา

ดังนั้นคนที่ไม่ฝันเลย ฝันน้อยแต่ละคืน หรือฝันมาก อาจแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความผิดปกติของสมอง ความจำ สภาวะทางอารมณ์ หรือแม้แต่ความผิดปกติของร่างกายระบบต่าง ๆ
อย่าปล่อยให้ฝันสลาย ทุกคนต้องฝัน เพื่อชีวิตและการทำงานที่ปกติของร่างกาย
ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเรื่องการนอนหลับ ช่วยท่านได้

ตรวจการนอนหลับ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง