Skip to content

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น Obstructive Sleep Apnea (OSA)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) คืออะไร?

ภาวะที่ทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบหรืออุดกั้นขณะหลับ ทำให้การไหลของอากาศลดลงหรือหยุดลงชั่วคราว ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง และทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาหายใจ

อาการของ Obstructive Sleep Apnea

  • นอนกรนเสียงดัง: นอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่มี OSA โดยเสียงกรนมักจะมีความดังและเกิดขึ้นตลอดคืน 
  • หยุดหายใจขณะหลับ สังเกตได้จากคนใกล้ตัว: ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ สังเกตได้จากคนใกล้ตัว โดยอาจหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ และหลังจากนั้นจะมีการหายใจเฮือก 
  • ตื่นบ่อยในเวลากลางคืน:  การหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาหายใจ ซึ่งอาจทำให้มีการตื่นบ่อยๆ ในเวลากลางคืน แม้ว่าผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัวว่าตื่น
  • รู้สึกง่วงนอนมากในเวลากลางวัน: เนื่องจากการนอนหลับที่ไม่สนิท ผู้ป่วยมักจะรู้สึกง่วงนอนและอ่อนเพลียในเวลากลางวัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานหรือการขับรถ 
  • มีอาการปวดหัวตอนเช้า: ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดหัวตอนตื่นนอนในตอนเช้า เนื่องจากการขาดออกซิเจนในเวลากลางคืน
  • ความจำเสื่อมและสมาธิลดลง:  การขาดการนอนหลับที่มีคุณภาพสามารถส่งผลให้มีปัญหาเรื่องความจำและสมาธิในการทำงานหรือกิจกรรมประจำวัน 
  • ตื่นมากลางดึกเพื่อไปปัสสาวะบ่อย: เนื่องจากการหายใจทางปากในช่วงที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ 
  • ตื่นนอนมามีปากแห้งคอแห้ง: ผู้ป่วยอาจมีความต้องการไปห้องน้ำบ่อยครั้งในเวลากลางคืน (Nocturia) 
  • มีปัญหาทางอารมณ์: อาจมีอาการหงุดหงิดง่าย เครียด หรือมีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากการขาดการนอนหลับที่เพียงพอ 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

  • น้ำหนักเกินหรืออ้วน
  • โครงสร้างทางเดินหายใจที่ผิดปกติ เช่น คางสั้น คอใหญ่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยานอนหลับ
  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรม

ผลกระทบจาก Obstructive Sleep Apnea เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต่างๆ ดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคเบาหวาน
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์หรือในที่ทำงาน เนื่องจากง่วงนอน
  • ความจำแย่ลง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อารมณ์ผิดปกติ
Sleep Apnea Health Assessment

การวินิจฉัยโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

  • การสอบถามประวัติและอาการจากผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) เพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือด การไหลของอากาศ และการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยานอนหลับ
  • การใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจขณะหลับ
  • การผ่าตัดในกรณีที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างทางเดินหายใจ
  • การใช้เครื่องมือเสริมทางเดินหายใจในช่องปาก

การป้องกันโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยานอนหลับ
  • นอนตะแคงเพื่อช่วยลดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ หากภาวะหยุดหายใจขณะหลับสัมพันธ์กับท่าทางการนอน
  • ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางการนอนหลับ หากมีอาการนอนกรน ง่วงนอนมากในเวลากลางวัน หรือ นอนไม่หลับ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา โรคลมชักและอายุรศาสตร์การนอนหลับ
ศูนย์สมองและระบบประสาท  โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง