ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ
เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าความดันโลหิตปกติของคนเรา คือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือน ดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของท่านในการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการเตือนผู้ป่วยหลายรายมาด้วยโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจโต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง
คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความโลหิตตัวล่างเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท จะเรียกว่า ความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง121/81-139/89 มิลลิเมตรปรอท ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่มีโอกาศที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคตซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปีขึ้นไป
- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
- พบมากในคนอ้วน แต่ในคนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
- อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40%
- บุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจ เสียใจ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวใน ตอนแรก แล้วจะค่อยลดลง แต่ถ้าเกิดป่วยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวร ซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องโรคความดันโลหิตสูง มักจะถูกแพทย์สั่งให้รับประทานอาหารจำกัดเกลือ และอาหารไทยเป็นอาหารที่รสออกเค็ม ทั้งในด้านการปรุง และการถนอมอาหาร การจำกัดเกลือทำให้อาหารมีรสจืดชืดมาก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการขาดอาหารได้ ถ้าต้องจำกัดอยู่นาน เพราะฉะนั้นการปรุงอาหาร ควรใช้เครื่องปรุงชนิดอื่นเข้าช่วย เช่น น้ำตาล, น้ำส้ม, น้ำมะนาว, น้ำมะขาม, เครื่องเทศ พืชบางอย่าง เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เรื้อรังรักษาไม่หายขาดผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายกับ
ผลกระทบโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของท่านในการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการเตือน ผู้ป่วยหลายรายมาด้วยโรคแทรกซ้อน เช่นโรคหัวใจโต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้แก่
- สมอง เมื่อความดันโลหิตสูงมาก อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือ แตกได้ง่ายกว่าคนปกติ
- หัวใจ ความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนัก อาจทำให้หัวใจวายได้
- ไต ความดันโลหิตสูง การทำหน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
- ตา ความดันโลหิตสูงจะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้าๆ ประสาทตาเสื่อม ตามัวลง เรื่อยๆ จนอาจทำให้ตาบอดได้
วิธีห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง
ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติอะไร เพศ อายุเท่าใด คุณสามารถป้องกันความดันโลหิตสูง หรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยวิธีการดังต่อไปนี้ที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาหรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
- ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- จัดการเรื่องความเครียด
- รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้โดยการรับประทานอาหารลดความดันโลหิต
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์
หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญคือ ต้องงดบุหรี่
ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง
เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่น ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้
ผลกระทบต่อสมอง
- มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า
- โอกาสเกิดเลือดออกในสมองเพิ่ม
- โอกาสเกิดสมองขาดเลือดเพิ่ม
ผลกระทบต่อหัวใจ
- โอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
- มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
ผลกระทบต่อไต
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดไตเสื่อม
ผลกระทบต่อเส้นเลือด
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719