Skip to content

อาการวิงเวียนศีรษะและบ้านหมุน

วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้

ก่อนหน้านี้มีผู้ป่วยหญิงอายุ 65 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มาที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการเวียนศีรษะ จากนั้นมีอาการเห็นภาพซ้อน และอ่อนแรงแขนขาซีกขวา ตรวจพบมีหลอดเลือดสมองอุดตันที่บริเวณก้อนสมอง พบว่าก่อนหน้านี้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะเป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการวูบ (presyncope) เป็นบางครั้ง

หากมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน บางครั้งอาจจะคิดว่า ไม่เป็นไร ทั้งที่ความจริงแล้วอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนกำลังเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเมื่อมีอาการ

อาการบ้านหมุน วิงเวียนศีรษะ

โดยส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า บ้านหมุน วิงเวียน นั้นเหมือนกัน แต่ในการวินิจฉัยโรคแพทย์มีการจำแนกความหมายที่แตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละอาการ เช่น

  • บ้านหมุน (vertigo)
  • รู้สึกไม่มั่นคง (dysequilibrium)
  • อาการวูบคล้ายจะเป็นลม (presyncope)
  • วิงเวียนศีรษะ (dizzy)

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว มักเห็นเป็นแนวนอนและหมุนได้ อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกี่ยวข้องกับบ้านหมุนมักบ่งชี้ถึงอาการของหูมากกว่าสมอง ผลการศึกษาพบว่าประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยมีอาการวิงเวียนศีรษะมีอาการประเภทบ้านหมุน (vertigo)

ความไม่สมดุล (Dysequilibrium) เกิดขึ้นเมื่อสมองได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายจากระบบรับความรู้สึกทางกายภาพ และระบบการทรงตัว อาจเป็นผลมาจากโรคปลายประสาทอักเสบ โรคตา หรือความผิดปกติของการทรงตัวส่วนปลาย

อาการวูบคล้ายเป็นลม (Presyncope) เกิดจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองลดลง

วิงเวียนศีรษะ สาเหตุ

สาเหตุของโรควิงเวียนศีรษะ

  • โรคระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนใหญ่จากสมองน้อย (Cerebellum)
  • โรคทางระบบหู เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคเส้นเลือดในสมองตีบทั้งแบบชั่วคราวและถาวร โรคพาร์กินสัน โรคไมเกรนบางแบบ
  • โรคระบบหารหมุนเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตตกในท่ายืน
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาประเภทต่าง ๆ
  • โรคทางตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม
  • โรคอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่างๆ โรคซีด โรคเกลือแร่ ไขมันผิดปกติ เป็นต้น

อาการวิงเวียนศีรษะแบบไหนที่ควรพบแพทย์

  • วิงเวียนศีรษะเป็นระยะเวลาเกิน 1 สัปดาห์ รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • เดินเซ และทรงตัวไม่ได้
  • มีอาการอื่นทางระบบประสาทร่วม เช่น อ่อนแรง ชา แขนขา พูดหรือมองเห็นผิดปกติ
  • อาการเวียนศีรษะเกิดตามหลังอุบัติเหตุ

หากมีข้อสงสัยสามารถทำนัด สอบถามข้อมูลหรือปรึกษากับทีมศูนย์สมองและระบบประสาท ได้ที่ทุกช่องทางการติดต่อของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา


Reference,

Kanagalingam J, Hajioff D, Bennett S. Vertigo. BMJ. 2005 Mar 5;330(7490):523. doi:

10.1136/bmj.330.7490.523. PMID: 15746133; PMCID: PMC552814.

เวียนศีรษะบ้านหมุน ห้ามชะล่าใจอาจเสี่ยงโรคร้าย | Bangkok Hospital

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน โรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ศูนย์สมองและระบบประสาท  โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง