Skip to content

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยประคับประคอง

กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยประคับประคอง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลว มักจะต้องใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตอยู่บนเตียงที่รายล้อมไปด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิมที่เคยเดินเหินทำอะไรได้ด้วยตัวเองก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า, ท้อแท้, เบื่อหน่ายรู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า เป็นต้น

ดนตรีบำบัดสามารถเข้าไปมีส่วนช่วยส่งเสริมในด้านคุณภาพชีวิต (quality of life)  ไม่เฉพาะแค่ตัวผู้ป่วย แต่รวมไปถึงครอบครัวและญาติที่อาจจะกำลังวิตกกังวลหรือกระวนกระวายว่าจะต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ตัวอย่างเป้าหมายของดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วย

  • ส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิต (Quality of life)
  • เบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด (Pain management)
  • ให้ความบันเทิง
  • เบี่ยงเบนความสนใจจากการต้องเผชิญโรคร้าย
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย/ช่วยเรื่องการนอนหลับ

ตัวอย่างเป้าหมายของดนตรีบำบัดสำหรับครอบครัว/ญาติ/ผู้ดูแล

  • Providing emotional support
  • ใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับครอบครัว (เช่น บอกความรู้สึกที่ไม่กล้า หรือไม่อาจบอกได้เป็นคําพูดผ่านเสียงเพลง และ/หรือเนื้อเพลง)
  • Saying goodbye/letting go

ตัวอย่างกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับกลุ่ม Palliative Care

  • (Live) music listening (ดนตรีสดโดยนักดนตรีบำบัด โดยอาจจะมีญาติร่วมร้องด้วย)
  • Music and relaxation (ดนตรีบําบัดเพื่อการผ่อนคลาย)
  • Musical life review (การจัดเพลย์ลิสท์ เลือกเพลงที่มีความสําคัญกับช่วงเวลาต่างๆของชีวิต)
  • Song dedications (ผู้ป่วยเลือกเพลงแทนความรู้สึกให้กับญาติพี่น้อง และคนรัก)
  • Composition (e.g. a song composed with heartbeat rec.)

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง