Skip to content

เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ [Rabies Virus] เกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยเชื้อจะปนมาใน “น้ำลายสัตว์” แล้วแพร่สู่คนและสัตว์อื่น เดือนมกราคม – มีนาคม 2561 พบสุนัขและแมวติดเชื้อ สูงกว่าปีที่ผ่านมา 2 เท่า และมีแนวโน้มสูงขึ้น “จังหวัดชลบุรี อยู่ในอันดับที่ 1 ของพื้นที่ระบาดในภาคตะวันออก” หมั่นสังเกต 3 ระยะ อันตราย ของสัตว์เลี้ยง ระยะเริ่มแรก > แยกตัว ไม่เล่นกับเจ้าของ หงุดหงิด ม่านตาขยาย ไม่ตอบสนองต่อแสง 2 – 3 วันก่อนเข้าระยะตื่นเต้น ระยะตื่นเต้น > กระวนกระวาย ตื่นเต้น ดุร้าย เห่าหอนผิดปกติ ลิ้นห้อย น้ำลายไหล 1 – 7 วันก่อนเข้าระยะอัมพาต ระยะอัมพาต > ขาอ่อนเปลี้ย ล้มแล้วลุกไม่ได้ อัมพาตทั้งตัวแล้ว “ตาย” ทำอย่างไรเมื่อถูกกัด • ล้างแผลด้วยน้ำ ให้ลึกถึงก้นแผล และฟอกด้วยสบู่หลาย ๆ ครั้ง • เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ • รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ ประเมินการให้วัคซีน และอิมมูโนโกลบูลิน • อาจให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและยาปฎิชีวนะ • กักขังสัตว์ที่กัดไว้สังเกตอาการ 10 วัน หากตายรีบแจ้ง “ปศุสัตว์” ใกล้บ้านท่านทันที ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค สถานเสาวภา และสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2561 โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.1719
อายุรกรรม

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง