Skip to content

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ เช็ค! ง่ายๆด้วยวิธีเป่าลมหายใจ สะดวก ไม่เจ็บ ทราบผลใน 30 นาที

ไม่ว่าจะ Work from Home หรือ ยังทำงานใน office เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้นในปัจจุบันนี้ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่ไม่ได้ผ่านการทำด้วยตนเองมีคุณภาพดีพอ เพราะในยุคที่เร่งรีบในการใช้ชีวิตทำให้เราลืมนึกถึงเรื่องคุณภาพของการรับประทานไป ประทานอาหารปิ้งย่าง รมควัน หมักดอง อาหารเค็มจัด หรืออาหารที่ไม่สะอาด เมื่อทานเป็นประจำและติดต่อเป็นเวลายาวนาน คุณอาจคาดไม่ถึงว่ากำลังเพิ่มพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อมะเร็ง

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร(Gastric cancer )

เป็นโรคที่ไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะทราบก็เกิดอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะใกล้เคียง เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบและการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักอนามัย จากสถิติโรคมะเร็งทั่วโลก

ในปัจจุบัน โรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 6 พบว่าเพศชายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูง ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งตรงข้ามกับประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และในทวีปยุโรป ที่มีอุบัติการณ์ของโรคนี้ค่อนข้างต่าง

สำหรับในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้เท่ากับ 4.1 ราย และ 2.5 ราย ต่อประชากรแสนราย ในเพศชายและเพศหญิง ตามลำดับ

stomuch2

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารชั้นในมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ และลุกลามมาถึงผนังกระเพาะชั้นนอกแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระเพาะ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา เมื่อมะเร็งมีขนาด ใหญ่ขึ้น จะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้

โดยอาการในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงที่เฉพาะและอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร มีอาการเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ถ้าอาการเป็นมากขึ้น อาจมีอาการถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด มีอาการซีด อ่อนเพลียตามมา

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
  • เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
  • การรับประทานอาหารปิ้งย่าง รมควัน หมักดอง อาหารเค็มจัด
  • การติดเชื้อแบคทีเรียเฮอริโคแบคเตอร์ ไพโรไร เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อติดเชื้อนี้จะทำให้มีอาการอักเสบ เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อสะสมเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้

การวินิจฉัยทำได้โดย

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) เป็นการสอดเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหาร สู่กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อหาบริเวณที่ผิดปกติ ตรวจดูรูปร่างเนื้องอก ขนาด ตำแหน่ง รอยโรค และตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง พบว่าวิธีนี้มีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่า
  • การเอกซเรย์กลืนแป้ง โดยจะให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสม barium ซึ่งเป็นสารทึบรังสี โดยน้ำกลืนนั้นจะไปเคลือบที่ผิวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร แล้วมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อผนังกระเพาะอาหารเป็นระยะๆ
  • การส่องกล้องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (endoscopic ultrasonography, EUS) โดยให้ผู้ป่วยกลืนเครื่องมือลงไป สามารถเห็นชั้นต่างๆของกระเพาะอาหารได้ ทำให้ทราบความลึกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ชัดเจน อีกทั้งยังตรวจหาการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้กระเพาะอาหาร ซึ่งจะเห็นขนาดของต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง (CT scan) ทำให้เห็นอวัยวะภายในแบบสามมิติ โดยถ่ายภาพตั้งแต่หน้าอกส่วนล่างถึงบริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งใช้ตรวจว่ามะเร็งกระเพาะอาหารแพร่กระจายไปส่วนไหนบ้าง

การรักษา

เมื่อเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การดูแลรักษาจะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง โดยมะเร็งกระเพาะอาหารจะมี 4 ระยะ แบ่งเป็น ระยะเริ่มแรก ระยะลุกลาม ระยะสุดท้าย

มะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ ระยะที่ 1 คือ มะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว แต่ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ มักไม่มีอาการ หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ ระยะนี้สามารถตรวจได้จากการคัดกรองเบื้องต้นคือการส่องกล้อง ถ้าตรวจพบจะทำการตัดชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกมีโอกาสหายขาดได้ ถ้าไม่ได้รักษามะเร็งในระยะนี้มีโอกาสกระจายไปต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งระยะลุกลาม คือ ระยะที่ 2และ3 มะเร็งที่มีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น การรักษาคือการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะที่ 4 คือ มะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ การรักษาในระยะนี้นอกจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด จะต้องดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในช่วงสุดท้ายของชีวิต

stomuch1

สำคัญที่สุด คือ การตรวจคัดกรองระยะเริ่มแรกหรือเริ่มมีอาการ รู้เร็ว ป้องกันได้

ตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง