การตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดคืน ผลการตรวจแสดงเป็นตัวเลขและเส้นกราฟ ทำให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างปกติหรือไม่การตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดคืน ผลการตรวจแสดงเป็นตัวเลขและเส้นกราฟ ทำให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างปกติหรือไม่
ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ
บอกความผิดปกติของการหายใจขณะหลับว่ามีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนหรือไม่ มีหยุดหายใจมากน้อยเพียงไร มีการขาดออกซิเจนหรือมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์หรือไม่ และสามารถบอกความรุนแรงของโรคภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจได้
เครื่องตรวจการนอนหลับ ประกอบด้วย
1. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้บันทึกข้อมูล ขยายและแปลงสัญญาณจากตัวผู้ป่วยให้ไปปรากฏเป็นเส้นกราฟให้มองเห็น
2. ปุ่มรับสัญญาณคล้ายสติกเกอร์แปะไว้ที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่ศีรษะ ใบหน้า จมูก คาง และขา
3. สายรัดรอบอกและลำตัว เพื่อดูการเคลื่อนไหวของอกและท้อง
4. สายส่งสัญญาณและตลับแปลงสัญญาณก่อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนในการตรวจ
เมื่อผู้ป่วยมาที่ห้องตรวจเวลา 19.00 – 20.00 น. เจ้าหน้าที่จะทำการ ซักประวัติ ตรวจวัดชีพจร อุณหภูมิ ความดันโลหิต น้ำหนักและส่วนสูง แนะนำอุปกรณ์ในการตรวจ แล้วจึงเริ่มทำการติดอุปกรณ์โดย
1. ติดปุ่มรับสัญญาณที่ศีรษะ ใบหน้า จมูก คาง และขา เพื่อบันทึกคลื่นสมองและกล้ามเนื้อ
2. ติดไมโครโฟนที่คอเพื่อบันทึกเสียงกรนเป็นเส้นกราฟ
3. ติดปุ่มรับสัญญาณที่ชายโครงซ้ายกับไหปลาร้าทั้งสองข้าง เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ
4. ติดอุปกรณ์ที่นิ้วเพื่อวัดค่าความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด
5. ติดอุปกรณ์รับสัญญาณที่จมูก เอาสายรัดรอบอกและท้อง เพื่อบันทึกลมหายใจเข้าออก ตลอดจนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออกและท้อง
6. ติดปุ่มรับสัญญาณที่ขาเพื่อบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อขา คอมพิวเตอร์จะบันทึกข้อมูลจากปุ่มรับสัญญาณอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงของการนอนหลับหมายเหตุ ภายในห้องตรวจการนอนหลับ จะมีการบันทึกวีดีโอ เพื่อบันทึกความผิดปกติขณะหลับของผู้ป่วย
ตำแหน่งต่าง ๆ ที่ติดปุ่มสัญญาณ
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจ
1.ควรอาบน้ำ และสระผมให้สะอาดก่อนมาถึงห้องตรวจ ห้ามใส่น้ำมันหรือทาครีมใด ๆ ที่ศีรษะ
2. ห้ามทาแป้ง โลชั่น หรือน้ำมัน ที่ใบหน้าและลำตัว
3. รับประทานอาหารเย็นมาให้เรียบร้อย งดเครื่องดื่มประเภทโค้ก, เป๊ปซี่, ช็อคโกแลต, ชา, กาแฟ
4. งดยาทุกชนิดในวันที่มาทำการตรวจ แต่ถ้ามียาประจำที่งดไม่ได้ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
5. กรณีที่จำเป็นต้องการนำของใช้ส่วนตัวมาเพื่อให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน
6. กรณีเด็กเล็กอนุญาติให้นำขวดนมและขวดน้ำมาดูดได้
7. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กหลับตอนกลางวันก่อนมาตรวจ เพราะจะทำให้เด็กหลับยากในเวลากลางคืน แล้วจะตรวจการนอนหลับไม่ได้
8. นำชุดนอนและอุปกรณ์สำหรับล้างหน้า แปรงฟันมาด้วย
9. ถ้าผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ งดกินอาหารหนักพร้อมกับนำอุปกรณ์และเครื่องช่วยหายใจที่ผู้ป่วยใช้ประจำมาด้วย
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะทำให้การตรวจเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลแม่นยำ
การนัดหมาย
– หลังจากท่านได้จองคิว ท่านจะได้รับบัตรนัดจากศูนย์กุมารเวช
– ก่อนถึงวันนัดตรวจ ท่านจะได้รับการติดต่อยืนยันคิวตรวจจากเจ้าหน้าที่ศูนย์สมองและระบบประสาท
หมายเหตุ
หากเด็กมีไข้หรือไม่สบายในวันที่นัดหรือใกล้กับวันที่จะมาตรวจ ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้โดยด่วน เพื่อพิจารณาว่าสมควรจะตรวจการนอนหลับต่อหรือไม่ เนื่องจากเด็กที่ไม่สบายอาจได้ผลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
เรียบเรียงโดย พญ.อัญชนา ทองแย้ม
ที่ปรึกษา ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ คุณอัญชลี ลี้จากภัย
อ้างอิงจากหน่วยโรคระบบทางเดินหายใจเด็กภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กุมารเวช โทร.1719
Post Views: 2,150