Skip to content

การเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ

อายุ 1 -2 เดือน

พัฒนาการสื่อสาร จะยิ้มตอบ ทำเสียงอืออา ทำท่าดีใจเมื่อแม่อุ้มเด็กวัยนี้จะชอบมองของที่มีสีสันและเคลื่อนไหวช้าอาจจะเป็นของเล่นที่สามารถติดบริเวณเตียงหรือเปลได้ เช่น  โมบายสีสันสดใส ช่วยเสริมพัฒนาการทางสายตา

อายุ 3-4 เดือน

พัฒนาการสื่อสาร หันหาเสียงหัวเราะ อ้อแอ้ โต้ตอบเด็กวัยนี้จะเริ่มเคลื่อนไหวได้เองมากขึ้น การเลือกของเล่นของเด็กวัยนี้เน้นการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสด้านต่างๆ เช่น ของเล่นเขย่าเสียงกรุ๊งกริ๊ง หรือ บีบมือมีเสียง เพื่อกระตุ้นการได้ยิน

อายุ 5-6 เดือน

จำหน้าหน้าพ่อแม่ได้ ดีใจ ร้องไห้ หันตามเสียงเป็นช่วงวัยที่เด็ก ๆ ชอบใช้มือจับ สัมผัส ลูบ คลำ บีบ โยน รวมถึงชอบเคลื่อนไหวแบบด้วยการกลิ้ง คืบคลาน ของเล่นที่เหมาะสมจึงเป็นพวกลูกบอล บล็อกตัวต่อที่มีผิวสัมผัสนุ่ม ของเล่นลอยน้ำ หนังสือผ้า ยางกัด หรือหนังสือที่มีผิวสัมผัสที่หลากหลาย ของเล่นเขย่าหรือเคาะแล้วมีเสียงดัง สีสันฉูดฉาด เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากคลานเข้าไปหา และเด็กในวัยนี้จะชอบนำสิ่งของที่หยิบจับได้เข้าปาก

อายุ 7-9 เดือน

เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการในการใช้มือมากขึ้น สามารถเรียนรู้ที่จะจับและปล่อยสิ่งของต่าง ๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกของเล่นที่มีรูปทรง ขนาด น้ำหนัก และผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน เช่น ของเล่นรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ตัวต่อ หนังสือสัมผัส หรือเครื่องเขย่าที่เกิดเสียง 

อายุ 9-12 เดือน

วัยนี้เด็กจะสามารถคลานได้ดีขึ้น และเมื่อครบ 1 ขวบ เด็กก็จะเริ่มยืนหรือเดินด้วยตัวเอง วัยนี้จะเรียนรู้วัตถุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว จึงทำให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ จึงควรเป็นของเล่นประเภทรถลากจูงเพื่อฝึกการก้าวเดิน    ของเล่นบล็อกไม้ เพื่อฝึกการคิดในการวางแผน และการแก้ปัญหา 

อายุ 1-3 ปี

วัยนี้เหมาะกับของเล่นที่เสริมพัฒนาการทางกล้ามเนื้อ การทรงตัว และเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ จินตนาการจึงควรเป็นของเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เช่น บล๊อกไม้ แป้งโดว์  ของเล่นบทบาทสมมติ ของเล่นเครื่องครัว ตุ๊กตา เครื่องแต่งกายต่าง ๆ และในวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางภาษา หนังสือนิทานจึงเป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กวัยนี้เช่นกัน 

อายุ 4-6 ปี

เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะด้านร่างกายที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วยิ่งขึ้น มีการรับรู้ การเรียนรู้ที่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีจินตนาการสูง ชอบเล่นอิสระ และชอบความท้าทาย ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กในวัยนี้จึงควรเป็นของเล่นที่เสริมจินตนาการและเล่นเป็นกลุ่ม เช่น เครื่องเล่นสนาม จักรยาน ของเล่น บทบาทสมมติต่าง ๆ และการละเล่น เกม กีฬา ที่สามารถเล่นเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 

Child Development Assessment

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง