วันความปลอดภัยอาหารโลก (World Food Safety Day)

วันความปลอดภัยอาหารโลก ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน ของทุกปี เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO)

Continue reading

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเวช (Psychiatric)

กลุ่มโรคทางจิตเวชมีลักษณะอาการที่ค่อนข้างซับซ้อนในแง่ของจิตใจ, อารมณ์, และ ความรู้สึก ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจเลือกทางออกที่ส่งผลเสียต่อตัวเอง สังคม หรือคนรอบข้าง เพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นอยู่ข้างในเหล่านั้น เช่น การฆ่าตัวตาย, และการทําร้ายผู้อื่น เป็นต้น

Continue reading

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟู (rehabilitation) เป็นการนำเอาองค์ประกอบของดนตรีมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดของศาสตร์กายภาพบําบัดและอรรถบําบัด โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งการทำกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพบนจังหวะของเพลงที่ชอบนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจและแรงกระตุ้น

Continue reading

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยประคับประคอง

กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยประคับประคอง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลว มักจะต้องใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตอยู่บนเตียงที่รายล้อมไปด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิมที่เคยเดินเหินทำอะไรได้ด้วยตัวเองก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า, ท้อแท้, เบื่อหน่ายรู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า เป็นต้น

Continue reading

ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคภาวะสมองเสื่อม

งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ดนตรีบำบัดสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้า, ลดความวิตกกังวล, ช่วยให้มีอารมณ์ที่ดี/คงที่ขึ้น, และสามารถนํามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการใช้ความคิดและความจําในผู้ปวยโรคอัลไซเมอร์, รวมไปถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย

Continue reading

ดนตรีบำบัด (Music Therapy)

ดนตรีบำบัด คือ วิชาชีพทางสุขภาพที่นําเอาดนตรีและองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อกลางในการบําบัดเพื่อเป้าหมายทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย, จิตใจ, สังคม, การรู้คิด, การสื่อสาร, การฝึกทักษะต่าง ๆ ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาวะ แก่ผู้เข้ารับการบําบัดหลากหลายกลุ่ม หลากหลายช่วงอายุ

Continue reading

ก้อนและความผิดปกติในเต้านม แบบไหนเสี่ยง “มะเร็ง”

หากคลำเต้านมแล้วพบก้อนเนื้องอก อาจเป็นได้ทั้งที่เป็นมะเร็งและที่ไม่ใช่มะเร็งก็ได้ ส่วนใหญ่ก้อนที่เป็นมะเร็งมักมีลักษณะผิวไม่กลม ขรุขระ และเนื้อแข็ง บางครั้งก้อนนั้นจะดึงรั้งผิวหนังบริเวณเต้านมหรือหัวนมให้บุ๋มลงไปได้ ควรรีบตรวจด้วยแมมโมแกรมและ/หรืออัลตราซาวด์เต้านมเพิ่มเติม โดยขนาดและรูปร่างของก้อนที่เห็นจากการตรวจ รังสีแพทย์และศัลยแพทย์เต้านมจะให้คะแนนออกมาเป็น BIRADS score ซึ่งถ้า BIRADS 4 ขึ้นไป ก็แสดงว่าสงสัยมะเร็งเต้านมครับ

ส่วนความผิดปกติอีกชนิดที่ถ้าพบ ก็อาจสงสัยมะเร็งเต้านมได้ คือ หินปูนในเต้านม ซึ่งคือการสะสมของแคลเซียมที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านมจากการที่มีเซลส์ตายในบริเวณนั้น ขนาดเล็กมาก ๆ ไม่สามารถคลำด้วยมือเปล่าได้ จะพบได้จากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น โดยอาจเป็นได้ทั้งที่เป็นหินปูนดีที่เกิดตามความชรา หรือหินปูนที่เป็นเนื้อร้ายมีเซลส์มะเร็งอยู่ ซึ่งต้องดูจากขนาด รูปร่าง และการกระจายของหินปูน ซึ่งถ้าหากจำเป็นต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคมะเร็ง

หากตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์แล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะส่งเจาะชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อไป

ในปัจจุบันการวินิจฉัยเนื้องอกบริเวณเต้านมสามารถทำได้พร้อมกับการรักษาในครั้งเดียว ด้วยนวัตกรรมใหม่ เข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ “Vacuum assisted breast biopsy” (VABB) ซึ่งราคาค่อนข้างสูง จึงจำกัดใช้เพียงบางโรงพยาบาลที่มีความพร้อมเท่านั้น นอกจากนี้แพทย์ผู้ลงมือทำหัตถการจำเป็นต้องเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งเต้านมที่มีประสบการณ์เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งล่าสุด นพ.ฐาปนัสม์ ลิขิตมาศกุล ศัลยแพทย์เต้านมของศูนย์เต้านม โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้รับการรับรองจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือเข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศในประเทศไทยว่าได้ทำหัตถการนี้เป็นจำนวนสูงสุด คือ มากกว่า 50 เคสในเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จึงมั่นใจในความชำนาญและประสบการณ์ได้แน่นอนครับ

นวัตกรรม Vacuum assisted breast biopsy (VABB) คืออะไร

Vacuum assisted breast biopsy (VABB) คือ การใช้เข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อเต้านมด้วยระบบสุญญากาศ เป็นวิธีที่ทำได้สะดวกและมีความชัดเจนสูง สามารถตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาได้ในคราวเดียว มีแผลเล็ก เจ็บน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องผ่าตัด ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญ คือ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ก่อนทำหัตถการ (ในกรณีทำหัตถการแบบฉีดยาชาเฉพาะที่)

เจาะชิ้นเนื้อตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธี VABB เจ็บไหม มีวิธีการอย่างไร

หลังจากตรวจพบความผิดปกติบริเวณเต้านม แต่ต้องการนำชิ้นเนื้อออก แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่ต้องการเจาะ กรณีผู้ป่วยกลัวหรือมีความกังวลสามารถขอให้แพทย์ใช้วิธีวางยาสลบได้ จากนั้นใช้เข็มขนาดเพียง 5 มิลลิเมตร เจาะลงไปบริเวณที่ตรวจพบเนื้องอกหรือหินปูนเพียงครั้งเดียว สามารถดูดด้วยระบบสุญญากาศเพื่อเอาก้อนเนื้องอกหรือหินปูน ขนาดไม่เกิน 2-3 เซนติเมตรออกมาได้ทั้งหมด

เมื่อเสร็จแล้วกดบริเวณแผลอย่างน้อย 30 นาที จากนั้นทำการประคบเย็นรวมประมาณ 1 ชั่วโมง สุดท้ายปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำปลอดเชื้อแล้วสามารถกลับบ้านได้ทันที กรณีผู้ป่วยกลัวการทำหัตถการโดยใช้ยาชา พอตื่นดีจากการดมยาสลบ 1-2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้เลยเช่นกัน

กรณีส่งตรวจชิ้นเนื้อแล้วพบว่าไม่ใช่มะเร็ง แพทย์จะทำการนัดติดตามอาการ 6 เดือน – 1 ปีต่อไป แต่ถ้ากรณีผลชิ้นเนื้อพบเซลส์มะเร็ง แพทย์จะวางแผนรักษาโรคมะเร็งเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ข้อดีของ Vacuum assisted breast biopsy (VABB)

  • สามารถวินิจฉัยและรักษาในคราวเดียว
  • ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
  • ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
  • สามารถทำในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และกลับบ้านได้ทันที
  • แผลขนาดเล็กเพียง 3 – 5 มิลลิเมตร
  • เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

ข้อจำกัดของ Vacuum assisted breast biopsy (VABB)

  • ก้อนหรือความผิดปกติควรมีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร หากขนาดใหญ่เกินอาจเอาก้อนออกได้ไม่หมดและมีรอยช้ำขนาดใหญ่ที่เต้านมรอบ ๆ แผล
  • ก้อนหรือความผิดปกติไม่ควรมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง โดยลักษณะก้อนเนื้อตะปุ่มตะป่ำ ไม่กลม ส่วนใหญ่เป็นก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (Fibroadenoma)  นอกจากนี้ยังพิจารณาร่วมกับการตรวจเเมมโมแกรม (BIRADS)  โดยค่า  BIRADS ต้องไม่เกิน 4a
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดแข็งตัวผิดปกติ หรือโรคเลือด
  •  กรณีกลับบ้านแล้วเลือดไหลไม่หยุด ต้องรีบกลับมาพบแพทย์ทันที
  • หลังการรักษา ควรงดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหรือยกของหนักประมาณ 1-2 สัปดาห์

VABB เหมาะกับใคร

  • ตรวจพบเนื้องอกหรือหินปูนที่สงสัยมะเร็งน้อยหรือไม่ใช่มะเร็ง (BIRADS 2-3)
  • กังวลใจอยากตัดก้อนเนื้อหรือหินปูนออกทั้งหมด
  • กลัวผลกระทบจากการผ่าตัด
  • ไม่มีเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น

นอกจากการตัดก้อนเนื้อที่เต้านมด้วยเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อเต้านมด้วยระบบสุญญากาศ หรือ VABB ปัจจุบันยังมีอีกหลายวิธี เช่น การสลายก้อนหรือความผิดปกติในเต้านมด้วยความเย็นติดลบ (Cryoablation) โดยใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปในก้อน ปล่อยความเย็นติดลบให้เนื้องอกฝ่อ แต่ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าการผ่าตัดรักษาแบบเดิมและการเจาะดูดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่ รวมถึงเข็มระบบสุญญากาศ VABB

บทความสุขภาพโดย

นพ.ฐาปนัสม์ ลิขิตมาศกุล
ศัลยแพทย์เต้านม ศูนย์เต้านม รพ.กรุงเทพพัทยา

New call-to-action

ปัญหาเรื่องการได้ยิน แก้ไขได้

กลไกการได้ยิน เสียงที่เราได้ยินอยู่นี้ เป็นการสั่นสะเทือนของโมเลกุลอากาศผ่านเข้าไปในช่องหู กระทบกับเยื่อแก้วหูซึ่งกั้นระหว่างหูชั้นนอกและชั้นกลาง เยื่อแก้วหูจะมีการสั่นสะเทือนและส่งไปยังกระดูก 3 ชิ้น เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลน ขั้นตอนนี้เรียกว่าการนำเสียง จากนั้นจะส่งต่อแรงสั่น

Continue reading