ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
พบว่าการมีประวัติผู้ที่อยู่ในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเป็นปัจจัยเสี่นงหนึ่งต่อการเป็นโรคนี้ ถ้าทราบว่าบิดาหรือมารดา หรือญาติสนิทเป็นโรคนี้ควรหันมาสนใจลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ด้วยการปรึกษาแพทย์ ตรวจระดับโคเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต หยุดสูบบุหรี่ เริ่มการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตัวเอง ถึงแม่อายุไม่มากและไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในครอบครัวสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนควรมีความรู้ คือ วิธีปฏิบัติตนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
ข้อปฏิบัติในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
• บริโภคปลาบ่อยขึ้น ปลาเป็นแหล่งของโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ รวมถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
• บริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และ ถั่วเป็นประจำ
• บริโภคไขมันที่เหมาะสม โดยจำกัดการบริโภคไขมันทุกชนิด
• หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูง
• เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
• จำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง นอกจากนี้ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงควรจำกัดการบริโภคน้ำตาล ขนมหวาน และ
• บริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ขาว สลับกับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นบางมื้อในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์นมพร่อกหรือขาดไขมัน เนื้อสัตว์และนมเป็นแหล่งของโปรตีนแต่การบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปจะทำให้ได้รับไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์มากด้วย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
• กินอาหารมื้อเล็ก วันละ 5-6 มื้อ การงดอาหารบางมื้อมักทำให้กินมากขึ้นในมื้อถัดไป การกินอาหารมื้อเล็ก วันละ 5-6 มื้อ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยคุมน้ำหนักตั
ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719
Post Views: 2,797