Skip to content

วุ้นตาเสื่อม รู้ตัวช้าเสี่ยงตาบอดอย่างถาวร

โรควุ้นตาเสื่อมเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ปันจุบันกลับพบโรคนี้ในวัยหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศกันมากขึ้นจนน่าตกใจ เรียกได้ว่าโรควุ้นในตาเสื่อมเป็นหนึ่งในโรค ที่ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้กันได้ งั้นเรามาทำความรู้จักโรควุ้นตาเสื่อมกันเถอะ
วุ้นตาเสื่อมเสี่ยงตาบอดอย่างถาวร

เคยสังเกตไหม ทำไมจึงมองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่หรือยุงบินไปมา แต่พอพยายามจ้องมองแล้วมันกลับลอยหายไปอย่างรวดเร็ว มักมองเห็นชัดเจนขึ้นเวลามองไปบนท้องฟ้าหรือพื้นผนังสีขาว หรือบางครั้งเห็นแสงไฟวาบขึ้นมาในตาทั้งๆ ที่อยู่ในที่มืด หลายคนคงเคยมีประสบการณ์นี้ และเกิดความวิตกกังวลว่ามันคืออะไร อันตรายไหม จะทำให้ตาบอดหรือไม่ อาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่เรียกว่า วุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration)

วุ้นตาเสื่อมคืออะไร

โดยปกติ ลูกตาเราจะมีวุ้นตา (vitreous) อยู่ภายในช่องตาส่วนหลังเพื่อคงรูปร่างของลูกตา ตั้งแต่เกิดวุ้นตาจะมีลักษณะเป็นเจลหนืด ใส ยึดติดกับจอตาที่บุอยู่ภายในลูกตาโดยรอบ ซึ่ง 99% ของวุ้นตาเป็นน้ำ ส่วนที่เหลือประกอบด้วยโปรตีน เส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนหรืออาจจะเร็วขึ้นในบางภาวะ วุ้นตาจะเสื่อมตัวกลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา ทำให้เห็นเป็นเงาดำ อาจเป็นจุดเล็กๆ เส้นๆ หรืออาจเป็นวงๆลอยไปมาในตา เรียกภาวะนี้ว่า posterior vitreous detachment (PVD) ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของวุ้นตาที่เกาะอยู่เป็นวงรอบขั้วประสาทตา

ขณะที่วุ้นตาลอกตัวจากจอตา อาจมีการดึงรั้งของวุ้นตาที่จอตาบางบริเวณที่ยึดติดแน่น ทำให้เกิดการฉีกขาดที่จอตา พบได้ 10-20% ของผู้ป่วยที่มีวุ้นตาเสื่อม ซึ่งมักทำให้มีอาการเห็นแสงไฟวาบขึ้นในตา โดยจะเห็นชัดเจนในที่มืด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่ภาวะจอตาหลุดลอก (retinal detachment) และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง