Skip to content

ทำความเข้าใจซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รู้ก่อนป้องกันได้ก่อน

โรคติตต่อทางเพศสัมพันธ์ในคู่รัก

จากบทเรียนในอดีตซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากผู้ที่ได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการที่ชัดเจนในระยะที่อาการของโรคมีความรุนแรง แม้ว่าโรคนี้จะสามารถรักษาได้ แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อหลายคนมักไม่ทันสังเกตอาการและเป็นพาหะโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบันการตรวจคัดกรองจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการติดตามปัญหาสุขภาพเพื่อเข้าสู่การรักษาเมื่อได้รับเชื้อ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและวางแผนดูแลสุขภาพให้หายจากซิฟิลิสได้เร็วที่สุดLGBTQIA plus and stds

โรคซิฟิลิสคืออะไร ?

ซิฟิลิสคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum แพร่เชื้อด้วยการสัมผัสผิวหนังและเยื่อบุแผล ซิฟิลิสสามารถแพร่เชื้อได้ผ่านบริเวรอวัยวะเพศ ทวารหนัก และปาก เมื่อได้รับเชื้อซิฟิลิสจะยังไม่แสดงอาการทันทีแต่จะอยู่ในร่างกายและแสดงอาการเป็นระยะ สตรีตั้งครรภ์สามารรถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้

โรคซิฟิลิสมีอาการอย่างไรบ้าง ?

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อซิฟิลิส เชื้อจะแฝงตัวอยู่ร่างกายและพัฒนาระยะของโรคทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคก็จะแตกต่างกันกันไปในแต่ละระยะ รวมถึงอาการในทารกก็มีอาการที่แตกต่างไปจากคนทั่วไป ซึ่งโรคซิฟิลิสแต่ละช่วงมีรายละเอียดดังนี้

ซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis)

หลังจากร่างกายได้รับเชื้อ ในระยะแรกประมาณ 2-18 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีแผลเล็ก ๆ เรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) หรืออาจเรียกว่าแผลซิฟิลิส แผลมักจะขึ้นอยู่ตรงบริเวณที่ได้รับเชื้อ ส่วนใหญ่มักมีเพียงแผลเดียวแต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจมีมากกว่า 1 แผล คนที่เป็นซิฟิลิสระยะที่ 1 มักไม่ทันสังเกตเพราะแผลริมแข็งเป็นแผลที่ไม่เจ็บ และอาจขึ้นอยู่บริเวณช่องคลอดหรือทวารหนัก

แผลจะหายไปได้เองประมาณ 3 ถึง 6 สัปดาห์ ซึ่งแผลที่หายเองได้นั้นไม่ได้หมายความว่าหายขาดจากซิฟิลิสแล้ว และในระยะนี้สามารถส่งต่อไปสู่คู่นอนได้ หากไม่ได้เข้ารับการรักษาโรคซิฟิลิสจะพัฒนาไปสู่ระยะที่สอง

ซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary syphilis)

หลังจากแผลซิฟิลิสในระยะแรกหายดีแล้วประมาณ 1-6 เดือน โรคซิฟิลิสจะพัฒนาเป็นระยะที่ 2 อาการของระยะนี้คือ ร่ายกายจะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังปกคลุมทั่วร่างกาย รวมถึงบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ผื่นซิฟิลิสมักจะไม่คันอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้

  • ไข้
  • เหนื่อยหอบ
  • แผลคล้ายหูดบริเวณปา หรืออวัยวะเพศ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • น้ำหนักลด
  • ปวดหัว
  • ผมร่วง
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการเหล่าสามารถเป็น ๆ หาย ๆ ซ้ำได้หลายเดือนจนถึงเป็นปี และในระยะนี้สามารถส่งต่อไปยังคู่นอนได้แม้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ไม่มีอาการ ผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะนี้หากไม่เข้ารับการรักษาจะเข้าสู่ระยะถัดไปคือระยะแฝง

ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis)

ผู้ป่วยซิฟิลิสเมื่อไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ 2 ระยะแรกโรคซิฟิลิสจะพัฒนามาสู่ระยะแฝง ในระยะนี้ผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการภายนอกใด ๆ แสดงออกมา และการแพร่ไปยังคู่นอนจะมีโอกาสน้อยกว่า 2 ระยะแรก ในช่วงซิฟิลิสระยะแฝงเชื้อจะเริ่มเข้าไปโจมตีอวัยวะภายร่างเช่น หัวใจ กระดูก และระบบประสาท และระยะนี้สามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีโดยไม่แสดงอาการภายนอกผู้ป่วยจึงเสี่ยงที่จะละเลยการตรวจและรักษา

ซิฟิลิสระยะที่สาม (Tertiary syphilis)

ระยะสุดท้ายของโรคนี้ เป็นระยะที่เชื้อได้เข้าไปโจมตีอวัยวะภายในร่างกายอย่างช้า ๆ จนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงเช่น

สมองได้รับความเสียหาย หรือมีภาวะสมองเสื่อม
ระบบประสาทได้รับความเสียหาย
โรคหัวใจ
ความผิดปกติในการเคลื่อนไหว และปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ
โรคลมชัก
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และอาจถึงขั้นตาบอด

ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis)

ทารกในครรภ์สามารถรับเชื้อซิฟิลิสจากแม่ได้ผ่านสายรก ทารกที่เป็นซิฟิลิสตั้งแต่กำเนิดอาจจะมีหรือไม่มีอาการในช่วงแรกที่เพิ่งเกิดก็ได้ ในรายที่มีอาการจะพบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ในภายหลังอาการจะชัดเจนและรุนแรงมากขึ้น เช่น หูหนวก ฟันผิดรูป สันจมูกผิดรูป ที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสอาจคลอดก่อนกำหนดซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ก่อนคลอดและเสียชีวิตหลังคลอดได้

โรคซิฟิลิสป้องกันอย่างไรได้บ้าง ?

ซิฟิลิสสามารถป้องกันได้การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ และต้องเปิดใจคุยกับคู่นอนให้มั่นใจว่าตนและคู่นอนไม่มีความเสี่ยง หรือหากมีความเสี่ยงการติดเชื้อ การพูดคุยกันจะนำไปสู่การตรวจและรักษาช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซิฟิลิส รวมถึงเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) อื่น ๆ ด้วย

ปรึกษาหมอ ตรวจซิฟิลิส

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงโรคซิฟิลิสอยู่หรือไม่ ?

การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยเช่นการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อโรคซิฟิลิสที่สุด แต่การที่จะพิสูจน์ว่าตัวเรามีเชื้ออยู่หรือไม่นั้นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจเลือดหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านเชื้อ ในผู้ป่วยบางรายอาจตรวจด้วยการเก็บตัวอย่างบริเวณแผลเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย หรือการตรวจน้ำไขสันหลัง โดยจะใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์

ซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้ไหม ?

แม้ซิฟิลิสจะเป็นโรคที่รักษาได้แต่การไม่ป่วยนั้นย่อมดีกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อแล้วเข้ารับการตรวจโรคได้ไวทั้งตนและคู่นอน ก็จะสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ โดยเฉพาะคู่รักที่กำลังวางแผนมีลูก การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นอกจากจะเป็นการติดตามสุขภาพของตนเองแล้วยังช่วยป้องกันให้ลูกไม่ต้องป่วยตั้งแต่เกิดได้

อายุรกรรม

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

preload imagepreload image