Skip to content

ข้อควรปฏิบัติตนก่อนเข้ารับตรวจ MRI

ความรู้เรื่องเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

เป็นการตรวจระบบอวัยวะต่าง ๆ โดยอาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของไฮโดรเจนอะตอมภายในร่างกายภายใต้สนาม แม่เหล็ก MRI เป็นเครื่องมือบันทึกภาพทางการแพทย์ โดยการส่งถ่ายพลังงานคลื่นวิทยุ (RF = Frequency) จากขดลวดส่งคลื่นความถี่วิทยุ ไปยังผู้ป่วยซึ่งนอนอยู่ในสนามแม่เหล็กแรงสูง และพลังงานเหล่านั้นจะสะท้อนกลับมายังตัวรับสัญญาณ (Reciever coil) สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะถูกเปลี่ยนแปลงตามคุณสมบัติของเนื้อเยื่อและหลอด เลือด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็คือข้อมูลสำหรับการสร้างภาพโดยคอมพิวเตอร์ตาม สรีระของผู้ป่วยจากส่วนของร่างกายที่ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานนี้ การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถตรวจอวัยวะได้ทั่วร่างกาย ดูได้ทั้งความผิดปกติของอวัยวะ เป็นการตรวจที่ปลอดภัยและให้ความแม่นยำสูง

ระบบอวัยวะที่สามารถตรวจได้
  1. ระบบสมอง
  2. ระบบไขสันหลัง
  3. ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
  4. ระบบช่องปอดและช่องท้อง
  5. ระบบหัวใจ
  6. ระบบหลอดเลือดดำและแดง
การปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการตรวจ
  1. เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด ท่านเพียงแต่ทำใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
  2. ในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ
  3. ในขณะที่ท่านทำการตรวจอยู่ในเครื่องจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลท่านตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรท่านสามารถบอกได้โดยผ่านไมโครโฟนที่อยู่ภายในเครื่อง
  4. เนื่องเป็นการตรวจที่ละเอียดจึงใช้เวลาค่อนข้างนานในการตรวจแต่ละชุด ท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำได้
  5. เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีข้อสงสัยให้ถามเจ้าหน้าที่ได้
  6. ถ้าท่านเกิดการกังวลใจ กลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
  7. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวได้
ข้อควรระมัดระวังและสิ่งพึงปฏิบัติ

ก่อนเข้ารับการตรวจ MRI ตรวจดูว่าร่างกายมีสิ่งต้องห้ามอะไรดังต่อไปนี้บ้าง

  1. สิ่งที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่
    • เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
    • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัด clips หรือโลหะต่างๆ
    • ผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือโลหะอยู่ในร่างกายเช่นเคยถูกยิงมีกระสุนค้างอยู่ตามร่างกาย
  2. สิ่งที่ต้องฝากญาติหรือใส่ไว้ในตู้เก็บของ
    • เครื่องประดับต่างๆ เช่น นาฬิกา สร้อย ต่างหู กิ๊บ เข็มกลัดติดเสื้อ เป็นต้น
    • ฟันปลอม เครื่องช่วยหูฟัง
    • บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม
    • สิ่งของที่เป็นโลหะ เช่น กุญแจ คลิป ปากกา เป็นต้น
บุคคลที่ห้ามเข้า MRI
  1. บุคคลที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
  2. บุคคลที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดโลหิต (aneurysm clips)
  3. บุคคลที่ผ่าตัดฝังอวัยวะเทียมภายในหู (ear implants)
  4. บุคคลที่มีโลหะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อเทียมต่างๆ, โลหะดามกระดูก, กระสุนปืน เป็นต้น
  5. สตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันว่าการตรวจนี้จะทำอันตรายต่อเด็กหรือไม่
สารที่ช่วยในการตรวจ (contrast media)

สารนี้มีชื่อว่า แกโดลิเนียม (Gadolinium) เป็นสารที่เพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงรายละอียดของภาพให้ดียิ่งขึ้น สารนี้หลังจากฉีดเข้าร่างกายจะถูกขับออกทางปัสสาวะเกือบหมดภายใน 24 ขั่วโมง เป็นสารคลชนิดกับสารทึกรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การฉีดสารเพิ่มความแตกต่าง

การฉีดทุกครั้งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์ ซึ่งปกติจะฉีดปริมาณ 0.2 cc. ต่อน้ำหนักผู้ป่วย 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ

อาการข้างเคียง

เนื่องจากสารเพิ่มความแตกต่างนี้จะใช้ในปริมาณที่น้อย ดังนั้นโอกาสของผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นพบได้น้อยมาก อาการข้างเคียงขั้นต้นที่อาจพบได้หลังการฉีดสาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง และอาการคันตามร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้รังสีแพทย์และบุคลากรทางรังสีได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจะ คอยดูแลท่านและช่วยเหลือแก้ไขอาการขั้นต้น อาการข้างเคียงขั้นรุนแรงอาจถึงชีวิตนั้นพบได้น้อยมากๆ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง